การวิเคราะห์สารสนเทศที่ใช้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ

Authors

  • มาลี กาบมาลา Khon Kean University
  • ลำปาง แม่นมาตย์ Khon Kean University
  • ครรชิต มาลัยวงศ์ Khon Kean University

Keywords:

Provincial strategic plan, Information used in strategic planning, Demographic data

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สารสนเทศที่ใช้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัด วิธีการศึกษาโดยใช้การวิเคราะห์เอกสารแผนยุทธศาสตร์จังหวัด 75 จังหวัดและการสัมภาษณ์คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ คณะอนุกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัด คณะที่ปรึกษาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดขอนแก่นและมหาสารคาม จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัด ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน และมีจุดเด่นในด้าน1) บทบาทของคณะกรรมการที่ปรึกษาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่ให้ความรู้และคำแนะนำแก่บุคลากรของจังหวัด และ 2) การทำงานแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในจังหวัด สำหรับปัญหาในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ พบว่า บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงาน และปัญหาด้านข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้เป็นพื้นฐานในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เมื่อวิเคราะห์รายละเอียดของสารสนเทศที่ใช้ในกระบวนการทำแผนพบมีลักษณะเป็นทั้งข้อมูลและสารสนเทศซึ่ง สามารถจัดกลุ่มสารสนเทศได้ 18 กลุ่ม คือ 1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด 2) การจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด 3) การเงิน 4) เกษตรกรรม 5) อุตสาหกรรม 6) การค้าและบริการ 7) การผลิตและการตลาดสินค้าชุมชน 8) การท่องเที่ยว 9) รายได้และอาชีพ 10) การมีงานทำ 11) การศึกษา 12) ความมั่นคงด้านครัวเรือน 13) สุขภาพและอนามัย 14) สวัสดิการสังคม 15) ความปลอดภัยทางสังคม 16) การมีส่วนร่วม 17) โครงสร้างพื้นฐาน และ 18) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และข้อมูลประชากรเป็นกลุ่มข้อมูลที่ใช้มากที่สุดและแต่เนื่องจากการจัดการเก็บและรวบรวมข้อมูลนั้นมีการจัดเก็บในระดับครัวเรือน ทั้งนี้การเก็บข้อมูลในระดับบุคคลนั้นถือว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาของจังหวัดได้และเป็นสารสนเทศสำคัญ ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารและการวางแผนยุทธศาสตร์จังหวัด

Downloads

Published

2014-10-24

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์