การศึกษาชื่อลายผ้าแพรวาในภาษาผู้ไทยตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์

Authors

  • ยศกร สิทธิศักดิ์ไพบูลย์ Kasetsart University
  • จรัลวิไล จรูญโรจน์ Kasetsart University
  • วิภากร วงศ์ไทย Kasetsart University

Keywords:

Phu Thai Dialect, Ethnosemantics, Phraewa

Abstract

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ชื่อลายผ้าแพรวา ในภาษาผู้ไทยของชาวบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ในประเด็นดังต่อไปนี้ 1) คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสรรค์ลายผ้าแพรวา 2) โครงสร้างคำชื่อลายผ้าแพรวาในภาษาผู้ไทย 3) วิเคราะห์องค์ประกอบความหมายของชื่อลายผ้าแพรวาตามแนวอรรถศาสตร์ ชาติพันธุ์ 4) ศึกษาภาพสะท้อนด้านสังคมและวัฒนธรรม จากคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสรรค์ชื่อลายผ้าและชื่อลายผ้าแพรวาของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทย ในเขตพื้นที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยศึกษาข้อมูลจาการสัมภาษณ์ ผู้บอกภาษาเพศหญิง กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีประสบการณ์การทอผ้าอย่างน้อย 10 ปี และศึกษาจาก “แพรแซ่ว” ที่เป็นเหมือนแม่แบบในการสะสมและสืบทอดลายผ้าจากรุ่นสู่รุ่น จากการศึกษาพบว่า คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกระบวนการสร้างสรรค์ลายผ้าแพรวา สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตและสังคมของชาวผู้ไทยว่าเป็นชุมชนที่มีการสืบต่อวัฒนธรรมในการทอผ้าแพรวา ในสังคมการทอผ้าจะมีความสามัคคี มีการแบ่งปันแนวคิดในการคิดประดิษฐ์ลายผ้า โครงสร้างของชื่อลายผ้าแพรว่าประกอบไปด้วย คำนามที่ปรากฏร่วมกับคำว่า “ดอก” /dùk/ คำนามผสม นามวลี ในการวิเคราะห์องค์ประกอบความหมายของลาย ประกอบไปด้วยมิติแห่งความแตกต่างดังนี้ [+สัตว์] [+จินตนาการ ] [+สิ่งก่อสร้าง] [+ความเชื่อ] [+พืช] [+ลักษณะนาม] [+จำนวน] [+ประเพณี] [+กริยา] [+ธรรมชาติ] [+สิ่งของเครื่องใช้] [+อวัยวะ] การศึกษาภาพสะท้อนจากชื่อลายผ้าแพรวา ได้ภาพสะท้อนจากการศึกษา ดังนี้ ภาพสะท้อนด้านวิถีชีวิต ภาพสะท้อนด้านประเพณี ภาพสะท้อนความเชื่อ ภาพสะท้อนด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Downloads

Published

2014-10-24

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์