การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเว็บวิชาฟิสิกส์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (Development of Web-based Cooperative Learning Model for Physics Subject to Encourage

Authors

  • สายันต์ โพธิ์เกตุ Khon Kaen University
  • ทวี สระน้ำคำ Khon Kaen University

Keywords:

Web-based cooperative learning model, Critical thinking skills

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเว็บวิชาฟิสิกส์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเว็บวิชาฟิสิกส์ของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเว็บวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ซึ่งจะได้กลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่มเรียน จำนวน 120 คน ผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 60 คน คือกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเว็บ และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ใช้ทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเว็บ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ 2) การทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มไม่เป็นอิสระจากกัน 
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเว็บที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1.1) ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดที่เป็นพื้นฐานของการเรียนการสอน 1.2) การกำหนดจุดประสงค์ 1.3) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ 1.4) กิจกรรมการเรียนการสอน และ 1.5) การประเมินการเรียนการสอน 2) รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเว็บวิชาฟิสิกส์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีประสิทธิภาพ 80.03/80.22 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นพบว่าทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-28

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์