ความต้องการรับบริการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรผู้ปลูกข้าวนาปรังในตำบลหนองหมื่นถ่าน อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด (Needs for Agricultural Extension Services of Off-Season Rice Growers in Tambon Nongmuetan Amphoe At Samat, Roi-Et Province)

Authors

  • จักรพงศ์ มานะดี Khon Kaen University
  • นิวัฒน์ มาศวรรณา Khon Kaen University

Keywords:

Off-Season rice, Farmers’ need for extension services

Abstract

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการรับบริการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังในตำบลหนองหมื่นถ่าน อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ดโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรโดยการสัมภาษณ์จากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังในตำบลหนองหมื่นถ่านจำนวน 84 ราย ในระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า F – test และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแต่ละคู่โดยใช้ Scheffe’ test ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ร้อยละ 52.4 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.69 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีรายได้จากการปลูกข้าวนาปรังเฉลี่ย 34,785.71 บาท เกษตรกรทั้งหมดปลูกข้าวพันธ์ชัยนาท 1 มีพื้นที่ทำนาปรังเฉลี่ย 11.27 ไร่ต่อครัวเรือน ทำนาปรังแบบนาหว่านน้ำตม ได้ผลผลิตเฉลี่ย 572.62 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรมีความต้องการบริการส่งเสริมความรู้ในการปลูกข้าวนาปรังในระดับมากในหลายประเด็น ได้แก่ 1) การคัดเลือกพันธุ์ข้าว 2) การเตรียมพื้นที่ปลูกข้าว 3) การปลูกข้าว 4) การจัดการดิน 5) การไถกลบตอซัง เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังต้องการรูปแบบ วิธีการส่งเสริมให้ความรู้ในระดับมากหลายวิธี ได้แก่1)ไปเยี่ยมให้คำแนะนำในพื้นที่ 2) ถ่ายทอดผ่านผู้นำทางการเกษตรในชุมชน 3) การฝึกอบรม 4) การจัดทำแปลงสาธิตในพื้นที่ และ 5) การจัดหน่วยเคลื่อนที่ออกให้คำแนะนำในพื้นที่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังต้องการการฝึกอบรมแบบแยกเนื้อหาการอบรมออกเป็นครั้งๆไป ต้องการวิธีการฝึกอบรมแบบทั้งบรรยายและฝึกปฏิบัติจริง เกษตรกรต้องการได้รับการสนับสนุนและบริการในระดับมาก 7 ประเด็น ได้แก่ 1) การประสานงานแหล่งเงินกู้ 2) การตลาด 3) การวางแผนการผลิตและการตลาด 4) การประกันราคาผลผลิต 5) การให้คำแนะนำแก่เกษตรกร 6) การติดตามให้คำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ 7) การสนับสนุนให้มีแหล่งบริการวัสดุ อุปกรณ์ เกษตรกรที่มีขนาดพื้นที่ถือครองทางการเกษตรแตกต่างกันมีความต้องการรับบริการการส่งเสริมการปลูกข้าวนาปรังแตกต่างกันในบางประเด็น

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-28

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์