แนวทางการปรับปรุงระบบผลิตไอน้ำ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Guidelines for Improvinging Steam Generation Systems of Srinagarind Hospital,

Authors

  • เกรียงไกร อุส่าห์ค้า Khon Kaen University
  • ธีระ ฤทธิรอด Khon Kaen University
  • นเรศ วโรภาสตระกูล Khon Kaen University
  • ภาณุวัฒน์ ทรัพย์ปรุง Rajamangala University of Technology Isan Khonkaen Campus

Keywords:

Steam generation systems, Cost

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารและการดำเนินงานระบบผลิตไอน้ำ ค่าใช้จ่ายในระบบผลิตไอน้ำ ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ 2) วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและอุปสรรคในการบริหารและการดำเนินการระบบผลิตไอน้ำ และ3) เสนอแนวทางการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินการตลอดจนค่าใช้จ่ายในระบบผลิตไอน้ำ อย่างเป็นรูปธรรม โดยทำการศึกษาเก็บข้อมูล 2 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลการดำเนินงาน ข้อมูลต้นทุนของระบบผลิตไอน้ำ ในระยะเวลา 3 ปีย้อนหลัง 2) รวบรวมข้อมูลด้านบุคลากร 2.1) บุคลากรที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบผลิตไอน้ำ 2.2) บุคคลที่ใช้บริการระบบผลิตไอน้ำ 2.3) ผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงาน จากการศึกษาพบว่า 1) ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านระบบการผลิตไอน้ำประกอบด้วย น้ำมันเตา มีค่าใช้จ่าย 17,529.650 – 19,984,176 บาท คิดเป็นร้อยละ 90 ซ่อมบำรุง คิดเป็นร้อยละ 5 และ อื่นๆ (ค่าน้ำ ค่าไฟ) คิดเป็นร้อยละ 0.001 จากการคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตไอน้ำ ซึ่งหมวดผลิตไอน้ำและเตาเผาขยะใช้บอยเลอร์ 3 เครื่อง คือ เครื่องที่ 1 Hurt เครื่องที่ 2 Standardkessel และ เครื่องที่ 3 Donlee วิเคราะห์ต้นทุนแล้วพบว่าในปี 2551 โดยตามลำดับคิดเป็น 970.46 , 771.03 และ 863.11 บาท/ตัน/ชั่วโมง ปี 2552 คิดเป็น 907.78 , 439.84 และ 817.98 บาท/ตัน/ชั่วโมง ปี 2553 คิดเป็น 891.61 , 757.390 และ 1099.86 บาท/ตัน/ชั่วโมง 2) ด้านบุคลากร มีค่าใช้จ่ายของบุคลากร 974,880 บาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 5 มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และจากการสัมภาษณ์ แบบสอบถาม พบว่า แบบสอบถามทั้ง 2 ชุด แสดงผลความพึงพอใจระดับ ‘ต้องปรับปรุง’ คือ 2.1) แบบสอบถามสำหรับบุคคลที่ใช้บริการระบบผลิตไอน้ำในด้าน ความรวดเร็วในการให้บริการ ความถี่ในการเกิดปัญหา ความสามารถในการจ่ายไอน้ำได้เพียงพอต่อความต้องการและความพึงพอใจต่อเงินเดือน 2.2) แบบสอบถามสำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบไอน้ำในด้าน ระยะเวลาในการทำงาน แสงสว่างในการมองเห็น อะไหล่ จำนวนพนักงาน งานที่ทำเหมาะกับค่าแรงและเงินเดือน อย่างไรก็ตามในการจัดการต้นทุนของระบบผลิตไอน้ำ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำเป็นต้องลดต้นทุนดังที่กล่าวข้างต้น แต่เนื่องจากต้นทุนดังกล่าวทางโรงพยาบาลไม่สามารถลดได้ เพราะส่งผลต่อพนักงานและการดำเนินงานโดยตรง 3) ผู้วิจัยจึงเสนอโครงการเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในการทำงาน โดยแบ่งเป็นโครงการระยะสั้น 3 โครงการ 1) โครงการปรับปรุง Steam Trap 2) ปรับปรุงท่อและฉนวนหุ้มท่อส่งไอน้ำ 3)การปรับสภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในที่ทำงานให้ได้มาตรฐาน และโครงการระยะยาว 1 โครงการ คือ PM: Preventive Maintenance

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-28

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์