ความมั่นคงทางด้านอาหารของเด็กวัยก่อนเรียนและครัวเรือนของเด็กวัยก่อนเรียนในเขตพื้นที่การปกครองแบบพิเศษ (โคกนาคอง) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (Food Security of Preschool Children and Their Households in Special Administrative Region (Khok Na Khong), Muang D

Authors

  • นครินทร์ บุญมี Khon Kaen University
  • เกียรติรัตน์ คุณารัตนพฤกษ์ Khon Kaen University

Keywords:

Food security, Preschool children and households of preschool children, Food accessibility

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความมั่นคงทางด้านอาหารของเด็กวัยก่อนเรียนและครัวเรือนของเด็กวัยก่อนเรียนในเขตพื้นที่การปกครองแบบพิเศษ (โคกนาคอง) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ประชากรคือ เด็กวัยก่อนเรียนอายุ 2-5 ปี ขนาดตัวอย่างจำนวน 63 คนซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บข้อมูลมิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ.2556 โดยวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า เด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับธาตุเหล็ก วิตามินเอ พลังงาน และแคลเซียม ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของ Thai DRI มีอยู่ร้อยละ 66.7, 55.6, 44.4 และ 42.9 ตามลำดับ ในด้านภาวะโภชนาการ พบเด็กที่มีภาวะผอมและภาวะเตี้ยคิดเป็นร้อยละ 17.5 และ 20.6 เมื่อพิจารณาความมั่นคงทางด้านอาหารจากการเข้าถึงอาหารของครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนร้อยละ 63.5 ไม่มีความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยสามารถแบ่งความรุนแรงของความไม่มั่นคงทางด้านอาหารจากการเข้าถึงอาหารของครัวเรือนเป็น 3 ประเภท คือ ครัวเรือนที่ประสบความไม่มั่นคงระดับน้อย ปานกลาง และรุนแรง พบว่ามีร้อยละ 20.6, 30.2 และ 12.7 ตามลำดับ การเข้าถึงอาหารของครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.027) เมื่อขาดแคลนอาหารครัวเรือนส่วนใหญ่มักแก้ปัญหาด้วยวิธีการกินอาหารที่มีราคาถูกลง ยืมเงินเพื่อนบ้านหรือญาติพี่น้อง และยืมอาหารจากร้านค้ามากินก่อน คิดเป็นร้อยละ 61.9, 50.8 และ 49.2 ตามลำดับ

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-31

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ