ผลของการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ต่อการพัฒนาการคิดแบบอภิปัญญา เรื่อง ระบบนิเวศ และมนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (The Effects of Instruction Base on Tri-sik-kha Principles for Development of 10th Graders’ Metacog

Authors

  • นันทวัน พัวพัน Kasetsart University
  • เอกภูมิ จันทรขันตี Kasetsart University

Keywords:

Instruction based on Tri-Sik-Kha Principles, Metacognition, Ecosystems and Human and Sustainable Environment

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ต่อการพัฒนาการคิดแบบอภิปัญญา เรื่อง ระบบนิเวศและมนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดระนอง ภาคเรียนที่ 1 / 2556 จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย บันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน บันทึกหลังสอนของครู แบบฝึกหัดการคิดแบบ อภิปัญญา แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา 8 แผนฯ และแบบวัดการคิดแบบอภิปัญญา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา สามารถพัฒนาการคิดแบบอภิปัญญาได้ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยการคิดแบบ อภิปัญญารวมทั้ง 3 องค์ประกอบในระดับค่อนข้างสูงเรื่อง ระบบนิเวศ (70.35%) และ เรื่องมนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม (73. 20%) หากแยกพิจารณาแต่ละองค์ประกอบย่อยของการคิดแบบอภิปัญญา ได้แก่ การตระหนักรู้ การวางแผน และการประเมินตนเอง พบว่า เรื่อง ระบบนิเวศ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเกินร้อยละ 70 ในด้านการตระหนักรู้ (74.13%) และการวางแผน (71.22%) ส่วน เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเกินร้อยละ 70 ในด้านการตระหนักรู้ (84.74%) และพบว่า แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ขั้นศีล ครูควรเตรียมความพร้อม ทางด้านกายและวาจาของนักเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ขั้นสมาธิ นักเรียนรวบรวมจิตใจและความคิดให้แน่วแน่ เพื่อให้มีจิตใจที่สงบ พร้อมสำหรับทำกิจกรรมต่อไป และขั้นปัญญา ครูควรจัดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดปัญญาได้ 3 ทาง ได้แก่ สุตมยปัญญา (จากการฟัง) จินตามยปัญญา (จากการคิดพิจารณา) และภาวนามยปัญญา (จากการปฏิบัติ) เมื่อนักเรียนมีปัญญา นำพาสู่การคิดแบบอภิปัญญาของตนเองได้ โดยรู้ว่าตนเองคิดสิ่งใดและสามารถหาเหตุผลในสิ่งที่ตนเองทำได้ มีการตระหนักรู้ รู้จักการวางแผน และการประเมินตนเอง

Downloads

Additional Files

Published

2014-11-01

Issue

Section

วิทยาศาสตร์กายภาพ