การเปรียบเทียบอัตราความผิดพลาดของการนำเข้าข้อมูลด้วยหน้าจอป้อนข้อมูล 2 แบบ (A comparison of Error Rate of Two Data Entry Interface)

Authors

  • สงบ เสริมนา Khon Kaen University
  • ยุพา ถาวรพิทักษ์ Khon Kaen University

Keywords:

Data entry, Case record form, Interface

Abstract

คุณภาพข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตอบปัญหาการวิจัย หลักฐานจากการวิจัยจะเป็นประโยชน์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้อมูลที่รวบรวมมาได้ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราความผิดพลาดของการนำเข้าข้อมูลด้วยหน้าจอป้อนข้อมูล 2 แบบ ได้แก่ 1) หน้าจอป้อนข้อมูล ซึ่งมีเฉพาะคำถาม และช่องกรอกข้อมูล 2) หน้าจอป้อนข้อมูลที่เหมือนแบบบันทึกข้อมูล ซึ่งมีคำถาม ช่องกรอกข้อมูล และกล่องกาเครื่องหมายหรือปุ่มตัวเลือก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ จำนวนฟิลด์จากแบบบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ปีพ.ศ. 2553 ทำการสุ่มอย่างมีระบบได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,560 ชุดหรือ 140,400 ฟิลด์ ประกอบด้วยฟิลด์ประเภทตัวเลข จำนวน 38 ฟิลด์ ฟิลด์ประเภทตัวอักษร จำนวน 3 ฟิลด์ ฟิลด์ประเภทวันที่/เวลา จำนวน 7 ฟิลด์ ฟิลด์ประเภทตัวเลขและตัวอักษรรวมในฟิลด์เดียวกัน จำนวน 7 ฟิลด์ ฟิลด์จากช่องทำเครื่องหมาย จำนวน 35 ฟิลด์ จัดทำแฟ้มข้อมูลจริงเพื่อใช้ในการตรวจสอบโดยทำการคัดลอกข้อมูลตามแบบบันทึกข้อมูลที่สุ่มได้ จากฐานข้อมูลโปรแกรมเฝ้าระวังการบาดเจ็บของโรงพยาบาล ตรวจสอบข้อมูลโดยวิธีการตรวจสอบแบบ Reading aloud จำนวน 2 ครั้งและแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องตรงกับแบบบันทึกข้อมูล ความผิดพลาดของการนำเข้าข้อมูล เมื่อเทียบกับข้อมูลจริงหากพบว่าตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในฟิลด์ไม่เหมือนกันทุกตัวจะถือว่าฟิลด์ดังกล่าวนั้นผิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม STATA สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ อัตราความผิดพลาดและ 95% CI ของอัตราความผิดพลาด ผลการศึกษาพบว่า หน้าจอแบบที่ 1 พบอัตราความผิดพลาด 23.4 ต่อ 1,000 ฟิลด์ (95% CI : 22.7-24.2) และหน้าจอแบบที่ 2 พบอัตราความผิดพลาด 25.7 ต่อ 1,000 ฟิลด์ (95% CI : 24.9-26.6) การศึกษาครั้งนี้ พบว่า ฟิลด์ประเภทตัวอักษรและช่องทำเครื่องหมายพบอัตราความผิดพลาดจากการนำเข้าข้อมูลจากหน้าจอแบบที่ 2 สูงกว่าแบบที่ 1

Downloads

Additional Files

Published

2014-11-01

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ