The Effect of Health Promotion Program on Health-Promoting Behaviors Among Staff with Dyslipidemia, Sappasitthiprasong Hospital, Ubon Ratchathani Province

Authors

  • ประภัสสร ควาญช้าง Prapasson Khwanchang Khon Kaen University
  • ดร.วราลักษณ์ กิตติวัฒน์ไพศาล Dr.Waraluk Kittiwatanapaisan Khon Kaen University
  • พรรณงาม พรรณเชษฐ์ Punngam Punnachet Khon Kaen University

Keywords:

Health Promotion Program(โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ), Health-Promoting Behaviors(พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ), Dyslipidemia(ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในบุคลากรที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (Pender, 1996) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ทำการศึกษาระหว่างวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2549 ถึง 23 มิถุนายน พ.ศ.2549 กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 38 คน โดยก่อนได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการตรวจระดับไขมันในเลือด คือ โคเลสเตอรอล แอลดีแอลโคเลสเตอรอล เอชดีแอลโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และทำแบบวัดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งโปรแกรมที่ให้นั้นจะเน้นการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในพฤติกรรม 3 ด้าน คือ ด้านโภชนาการ ด้านการทำกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย และด้านการจัดการกับความเครียด และทำการติดตามตรวจวัดระดับไขมันในเลือดและทำแบบวัดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเมื่อได้รับโปรแกรมครบ 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และแบบบันทึกระดับไขมัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (One–Way ANOVA และ Kruskal–Wallis Test) กำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05

The purpose of this qausi-experimental research was to determine the effect of health promotion program on health-promoting behaviors among staff with dyslipidemia, Sappasitthiprasong Hospital, Ubon Ratchathani Province. The conceptual model used in this study was Pender.s Health Promotion Model. The study period started from April 24, 2006 to June,23 2006 and 38 subjects with dyslipidemia participated in this study. The research instruments were demographic data form, the health.promoting life style profile II (HPLP II), and lipid profile record sheet. SPSS/FW statistical software was used to analyze data. Demographic characteristics were presented in term of percentage, mean, and standard deviation. Comparative studies of scores on health-promoting behaviors and lipid profile levels before and after intervention were calculated using the One-Way ANOVA and Kruskal-Wallis test. The results revealed that : 1) after receiving health promotion program subject.s health-promoting behaviors in overall and in dimention of health responsibility and physical activity were significantly increased at the level of .05 2) after receiving health promotion program subject.s lipid profiles (Cholesterol and LDLCholesterol) were significantly decreased at the level of .05 The results of this study indicated that the health promotion program could improve the healthpromoting behaviors and lipid profile among staffs with dyslipidemia. Therefore, the health promotion program in this study could apply both for nursing practice and for further research.


Downloads

Published

2014-11-14

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ