A Case Study of Pesticide Use Behavior of Farmers: Ban Bueng Khrai Nun, Bueng Nium sub-district, Muang district, Khon Kaen(พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรกรณีศึกษา: บ้านบึงใคร่นุ่น ต. บึงเนียม อ. เมือง จ. ขอนแก่น)

Authors

  • สุภาพร ใจการุณ Supaporn Chaigarun Khon Kaen University
  • กาญจนา นาถะพินธุ Ganjana Nathapindhu Khon Kaen University

Keywords:

Pesticide Use Behavio(พฤติกรรมการใช้สารเคมี), groups by production techniques(กลุ่มการผลิตทางการเกษตร)

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีในหมู่บ้านบึงใคร่นุ่น ตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถาม การสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่เป็นทางการ ผลการศึกษา พบว่า บ้านบึงใคร่นุ่นเป็นหมู่บ้านที่มีการปลูกผักเพื่อการค้าเป็นหลัก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ร้อยละ 52.7 แบ่งกลุ่มเกษตรกรตามกิจกรรมการผลิตเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มการผลิตที่ใช้สารเคมีอย่างเดียว ร้อยละ 63.8 2) กลุ่มการผลิตที่ใช้สารเคมีร่วมกับสารชีวภาพ ร้อยละ 27.6 3) กลุ่มการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมี ร้อยละ 8.6 เกษตรกรใช้สารเคมีกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต และกลุ่มไพรีทรอยด์ ใช้ร้อยละ 21.1 เท่ากัน ส่วนสารเคมีกลุ่มอื่นๆ เกษตรกรใช้มากที่สุด เช่น ฟีนอกซี่ อะซิติก, อะเวอเมกติน เป็นต้น ร้อยละ 46.7 การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันสารเคมี 3 อันดับแรก ได้แก่ ใส่ที่ปิดจมูกชนิดผ้าและใส่กางเกงขายาว ร้อยละ 81.6 เท่ากัน ใส่เสื้อแขนสั้นและใส่หมวกแก๊ป ร้อยละ 51.4 เท่ากัน ใส่เสื้อแขนยาว ร้อยละ 48.6 รวมถึงมีพฤติกรรมในการทิ้งสารเคมีและจัดเก็บสารเคมีไม่เป็นที่เป็นทาง อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก สัตว์เลี้ยง ปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 66.0 การป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมี ถือว่าใช้ไม่ได้ผล เนื่องจากเกษตรกรหมู่บ้านนี้ ทราบถึงวิธีการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมี แต่ไม่ค่อยระมัดระวัง การใช้สารเคมีในฤดูร้อนมีความถี่และความเข้มข้นสูงกว่าฤดูหนาว ความผิดปกติที่พบหลังจากใช้สารเคมี อันดับแรกคือหน้ามืด วิงเวียน เป็นลม ร้อยละ 74.3 รองลงมาเป็นอาการเมา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ร้อยละ 54.3 กลุ่มการผลิตใช้สารเคมีอย่างเดียวเสนอข้อคิดเห็นในเรื่องทางเลือกการใช้สารเคมี ได้แก่ 1) ถ้าลดการใช้สารเคมีแล้ว ผลผลิตควรขายได้ และมีรายได้เท่าเดิม 2) ไม่มีทางเลือกที่ดีกว่า จำเป็นต้องใช้ 3) ควรมีการคิดหาสูตรสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับสารเคมีในปัจจุบันและปลอดภัยต่อเกษตรกร รวมถึงผู้บริโภค ส่วนกลุ่มการผลิตใช้สารเคมีร่วมกับสารชีวภาพและกลุ่มที่ไม่ใช้สารเคมี เสนอข้อคิดเห็นในเรื่องนี้ 1) ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ 2) ส่งเสริมตลาดเกษตรอินทรีย์ และ 3) ออกแบบชุดอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ที่สามารถลดอันตรายจากการใช้สารเคมี จัดหาได้สะดวกและราคาไม่แพง เกษตรกรทั้งสามกลุ่มการผลิตมีความจำเป็นต้องจ่ายค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว และมีหนี้สิน ส่งผลให้เกษตรกร ร้อยละ 91.4 ในกลุ่มผู้ใช้สารเคมีจำเป็นต้องใช้สารเคมีต่อ เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต ส่วนผลกระทบทางด้านสุขภาพ เกษตรกรให้ความสำคัญ แต่รายได้เป็นสิ่งที่จำเป็นอันดับแรก 

This research is a study of the use of chemical pesticides by farmers in Ban Bueng Khrai Nun, Bueng Nium sub-district, Muang district, Khon Kaen. The research techniques were interview using questionnaire, observation and informal in depth interviews. The results showed that the residents of Ban Bueng Khrai Nun mostly planted vegetables for sale and agriculture was their principle occupation (52.7%). These farmers were classified into three groups by their production techniques: 63.8% used chemical pesticides, 27.6% used both chemical pesticides and bio-pesticides, and 8.6% did not use chemical pesticides. Of those who used chemical pesticides, 46.7% used pesticides classified by the WHO in the Other Group such as Fenoxy acetic and Avermectin. Next were those who used pesticides from the Organophosphate and Pyrethroid groups at 21.1% each. Concerning wore of protective equipment, 81.6% used either a nasal mask or long trousers or both, 51.4% used a short sleeved shirt or a cap or both, while 48.6% used a long sleeve shirt. Behavior of storage and disposal of chemicals was not correct, 66%, and which could be dangerous for children and animals, contaminated with food and the environment. Hazard prevention from chemical usage were ignored and ineffective although the farmers from this village knew techniques to protect themselves from these chemical pesticides. Frequency of chemical use in the hot season because insects were fed on crops flourish, and therefore pesticides are used more often. The farmers. symptoms were faintness, dizziness and fainting, 74.3%, followed by confusion, nausea, vomiting and loss of appetite at 54.3%. When farmers who only used chemical pesticides were asked about the alternative way about use of chemicals, three opinions were most common: 1) if the use of chemicals were reduced, and product could still be sold, no better alternative available, 2) there are no good available alternatives, and 3) new bio-pesticides as efficient as chemical pesticides and safe for farmers and consumers should be found and made them available. Farmers who used both chemical pesticides and bio-pesticides and farmers who did not use chemical pesticides responded to the same question, with three opinions: 1) the use of organic farming should be promoted, 2) markets for organic products should be promoted, and 3) easily available and inexpensive equipment that offers better protection from chemicals for farmers, should be designed. Among these three groups of farmers, 91.4% had a burden of living expense and loaning, therefore, they continued to use chemical pesticides in order to increase production and give a high price. Although farmers realized the danger on their health, their first priority was to achieve a high income.

Downloads

Published

2014-11-14

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ