Occupational Health Impact on Tomato Growers in Kutchap District and Nongwuaso District Udon Thani Province : a Comparison of Impact Between Production for Seed and Production for Consumption

Authors

  • ชนิดาพร โฉมไธสง (Chanidaporn Chomthaisong) Khon Kaen University
  • กาญจนา นาถะพินถุ (Ganjana Nathapindhu) Khon Kaen University
  • ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม (Dariwan Settheetham) Khon Kaen University

Keywords:

Health impact(ผลกระทบต่อสุขภาพ), Pesticides use(การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช), Tomato growers(เกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศ)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ที่มีการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์และเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อขายผล ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์และเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อขายผล มีอาการผิดปกติหลังการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 57.7 และร้อยละ 32.5 ตามลำดับ และมีอาการคล้ายกัน โดยเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ มีอาการผิดปกติ เช่น เวียนศรีษะ ร้อยละ 27.0 เหนื่อยง่าย ร้อยละ 24.3 ปวดศรีษะ ร้อยละ 16.2 ฯลฯ เนื่องจาก มีการใช้สารเคมีในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมต ไพรีทรอยด์ และคอปเปอร์ ซึ่งสารเคมีกลุ่มนี้เป็นสารเคมีที่มีอันตราย และมีระดับความเป็นพิษระดับ 1b และ 2 ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีพิษร้ายแรงและพิษปานกลาง ตามลำดับ สำหรับเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อขายผล มีอาการผิดปกติ เช่น เวียนศรีษะ ร้อยละ 26.8 เหนื่อยง่าย ร้อยละ 21.9 ปวดศรีษะ ร้อยละ 9.8 ฯลฯ มีการใช้สารเคมีในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บาเมต ซึ่งสารเคมีกลุ่มนี้เป็นสารเคมีที่มีอันตราย และมีระดับความเป็นพิษระดับ 1a, 1b และ 2 ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีพิษร้ายแรงมาก พิษร้ายแรง และพิษปานกลาง ตามลำดับ ในเรื่องระดับความรู้ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่วนใหญ่เกษตรกรมีความรู้ปานกลาง โดยเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์และเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อขายผลมีระดับความรู้ปานกลาง ร้อยละ 77.5 และร้อยละ 76.6 ตามลำดับ ระดับทัศนคติในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง โดยเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์และเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อขายผลมีระดับทัศนคติ ปานกลาง ร้อยละ 69.0 และร้อยละ 75.3 ตามลำดับ พฤติกรรมการปฏิบัติตัวส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง เกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์และเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อขายผลมีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวระดับ ปานกลาง ร้อยละ 67.6 และร้อยละ 72.7 ตามลำดับ ผลการตรวจระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อผลิต เมล็ดพันธุ์และเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อขายผล พบว่า เกษตรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ตรวจพบระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในระดับที่มีความเสี่ยง ร้อยละ 45.1 และไม่ปลอดภัย ร้อยละ 21.1 สำหรับเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศเพื่อขายผลตรวจพบระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในระดับที่มีระดับความเสี่ยง ร้อยละ 35.1 และไม่ปลอดภัย ร้อยละ 13.0 

This cross-sectional study descriptive research aims to examine impact on tomato grower's health being caused by using pesticides of production for seed tomato growers and production for consumption tomato growers, The results showed physical abnormality of production for seed tomato growers and production for consumption tomato growers were 57.7% and 32.5% respectively. Similar symptoms were observed. These included dizziness, fatigue, headache which were 27.0%, 24.3%, and 16.2%, respectively. For seed tomato growers, Chemical substance uses such as organophosphate, carbamate, pyritroid, and copper were harzadous. Level of toxicity ranged from highly to underately. (1b and 2 respectively). Whereas symptoms of dizziness, fatigue, headache were 26.8%, 21.9%, and 9.8%, respectively. For consumption tomato growers, Chemical substance uses such as organophosphate and carbamate were also harzadous. Level of toxicity ranged extremely, highly and moderately. (1a, 1b and 2 respectively). For the factor of knowledge on chemical pesticides, the moderate level was observed in production for seed tomato growers and production for consumption tomato growers which were 77.5 % and 76.6%, respectively. For factor attitude, production for seed tomato growers and production for consumption tomato growers which were moderate 69.0 % and 75.3%, respectively. For performance behavior factor, production for seed tomato growers and production for consumption tomato growers which were moderate 67.6 % and 72.7%, respectively. † Results of blood test for cholinesterase enzyme level were 45.1% risky, 21.1% unsafe found in production for seed tomato growers, whereas 35.1% risky ,13.0% unsafe found in production for consumption tomato growers.

Downloads

Published

2014-11-15

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ