Development of Acute Pain Assessment Tool in Surgical Intensive Care Unit for Nurses(การพัฒนาเครื่องมือประเมินความปวดแบบเฉียบพลันในผู้ป่วยระยะวิกฤตทางศัลยกรรมสำหรับพยาบาล)

Authors

  • บุปผา โคตะนิวงษ์ (Buppha Khotaniwong) Khon Kaen University
  • ดร. บำเพ็ญจิต แสงชาติ (Dr. Bumpenchit Sangchat) Khon Kaen University

Keywords:

Acute pain assessment tool(เครื่องมือประเมินความปวดแบบเฉียบพลัน), Pain in the critically ill patients(ความปวดผู้ป่วยระยะวิกฤต), Post operative pain(ความปวดหลังผ่าตัด).

Abstract

วิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินความปวดแบบเฉียบพลัน สำหรับพยาบาลในหอผู้ป่วยระยะวิกฤตศัลยกรรม วิธีวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่1 สร้างร่างเครื่องมือประเมินความปวดแบบเฉียบพลัน โดยใช้ทฤษฎีควบคุมประตูและแนวคิดของแมคคาฟเฟอรี่ เป็นกรอบแนวคิด ระยะที่ 2 พัฒนาเครื่องมือประเมินความปวดแบบเฉียบพลันโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาล 17 คน เลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทางด้านความเที่ยงและความไว โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์และสังเกตจากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหลังผ่าตัด 100 คน เลือกโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ ผลการวิจัยพบว่า เครื่องมือประเมินความปวดแบบเฉียบพลันประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษา 2) การประเมินความปวด กิจกรรมการบำบัดและติดตามประเมินผล ที่ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน คุณภาพเครื่องมือ ด้านความตรงเชิงเนื้อหาผ่านความเห็นสอดคล้องร้อยละ80ของผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านความเที่ยงมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน.61 ด้านความไวสามารถวัดความรุนแรงของความปวดที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ป่วยขณะมีกิจกรรมต่างๆได้ และเครื่องมือสามารถนำไปใช้ทางคลินิกได้ง่าย สะดวก ประหยัดเวลา ประเมินได้แม่นตรงตามจริงมีความต่อเนื่อง และนำข้อมูลมาใช้วางแผนให้การพยาบาลเพื่อบำบัดความปวดได้

The purpose of this action research was to develop an acute pain assessment tool for nurses in Surgical Intensive Care Unit. The research process consisted of three phases:1) developing an acute pain assessment tool based on Gate Control Theory and McCaffery,s concept. 2) Technical collabolative approach of action research was used for developing of acute pain assessment tool by 17 critical care nurses and the researcher; 3) Reliability and sensitivity were conducted using data by interview and observation from 100 postoperative patients selected through a systematic random sampling following the study,s eligibility criteria. The result are as follow: The acute pain assessment tool consisted of 2 parts:1) dermographic data and treatment 2) pain assessment data, intervention and evaluation that consisted of 8 informations about pain. The content validity of acute pain assessment tool is 80 percent of congruent. Reliability; Pearson Product Moment Correlation is 0.61 and sensitivity which able to measure various pain intensity at rest or activities. The feedback from nurses indicated that the acute pain assessment tool is useful, simple and quick to use. The acute pain assessment tool make to continue accurate clinical assessments and develop appropriate care plan to relieve pain.


Downloads

Published

2014-11-15

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ