ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนจากเสมหะบวกเป็นเสมหะลบ เมื่อสิ้นสุด 2−3 เดือนแรกของการรักษา ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่ ในจังหวัดศรีสะเกษ

Authors

  • พุทธิไกร ประมวล (Putthikrai Pramual) Khon Kaen University
  • ดร.จิราพร เขียวอยู่ (Dr. Jiraporn Khiewyoo) Khon Kaen University
  • นงลักษณ์ เทศนา (Nongluck Tesana) Office of Disease Prevention and Control 6 province in Khon Kaen

Keywords:

Sputum conversion(การเปลี่ยนจากเสมหะบวกเป็นเสมหะลบ), Pulmonary tuberculosis(วัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่), New smear positive(ผู้ป่วยวัณโรค)

Abstract

 การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาย้อนหลัง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ การเปลี่ยนจากเสมหะบวกเป็นเสมหะลบ เมื่อสิ้นสุด 2-3 เดือนแรกของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวก รายใหม่ ในจังหวัด ศรีสะเกษ ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2556 จำนวน 562 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยวัณโรคปอด ที่มีผลเสมหะเปลี่ยนเป็นเสมหะลบ เมื่อสิ้นสุด 2-3 เดือนแรกของการรักษา จำนวน 281 คน และกลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีผลเสมหะไม่เปลี่ยนเป็นเสมหะลบ เมื่อสิ้นสุด 2-3 เดือนแรกของการรักษา จำนวน 281 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบคัดลอกข้อมูลจากเวชระเบียน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการเปลี่ยนของเสมหะ ด้วยวิธีการถดถอยพหุโลจิสติก นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ ด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา พบว่า การรับประทานยา ครบตามชนิดและขนาดของยา ผลการตรวจเสมหะก่อนการรักษา และเวลาที่ใช้ในการเดินทางมารับการรักษา มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนจากเสมหะบวกเป็นเสมหะลบ เมื่อสิ้นสุด 2-3 เดือนแรกของการรักษา อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้ป่วยวัณโรคปอดที่รับประทานยาครบตามชนิดและขนาดของยา จะมีโอกาส ที่ผลการตรวจเสมหะเปลี่ยนจากเสมหะบวกเป็นเสมหะลบเป็น 2.03 เท่าของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่รับประทานยา ไม่ครบตามชนิดและขนาดของยา (95% CI = 1.04 – 3.96) ส่วนผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ผลการตรวจเสมหะ ก่อนการรักษาพบเชื้อเล็กน้อย (Scanty) หรือ 1+ จะมีโอกาสที่ผลการตรวจเสมหะเปลี่ยนจากเสมหะบวก เป็นเสมหะลบเป็น 1.92 เท่าของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีผลการตรวจเสมหะก่อนการรักษาพบเชื้อมากกว่า 1+ (95% CI = 1.32 – 2.77) และผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ใช้เวลาในการเดินทางมารับการรักษาตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป จะมีโอกาสที่ผลการตรวจเสมหะเปลี่ยนจากเสมหะบวกเป็นเสมหะลบเป็น 1.46 เท่าของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ใช้เวลาในการเดินทางมารับการรักษาน้อยกว่า 30 นาที (95% CI = 1.04 – 2.05) ดังนั้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องเน้นการควบคุมกำกับการกินยาให้ครบตามชนิดและขนาดของยา โดยเฉพาะผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีผลการตรวจเสมหะมากกว่า 1+ 

This study aimed to investigate factors related to a sputum conversion after 2-3 months among new smear positive pulmonary tuberculosis patients in Sisaket province. An analyticalcase – control study with the ratio of case to control of 1 to 1 was performed utilized the database of new smear positive pulmonary tuberculosis patients who registered at the general and a community hospital in the Sisaket province during October 2010 to September 2013 562 patients. Cases were 281 patients with sputum conversion after 2-3 months treated with DOTS. Controls were 281 patients without sputum conversion after 2-3 months treated with DOT. A multiple logistic regression was employed for main data analysis. An adjusted odds ratio (ORadj) and 95% confidence interval (95% CI) were presented. Finding showed three variables had positive association with the sputum conversion after 2-3 months among new smear positive pulmonary tuberculosis patients. These variables included the regular intake of medicament as prescription and regimented treatment (ORadj =2.03; 95% CI=1.04–3.96), the sputum before treatment showed a slight (Scanty) or 1+ (ORadj =1.92; 95% CI=1.32–2.77) and the travel time to get treatment equal or more than 30 minutes (ORadj =1.46; 95% CI = 1.04–2.05). In order to increase a chance of the sputum conversion of new pulmonary tuberculosis patients in the study areas, health officers must be focus on the completion of a medication intake especially in tuberculosis patients with the scanty sputum before treatment.

 

Downloads

Published

2015-02-14

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ