การหาปริมาณแอนโทไซยานินในน้ำเม่า โดยสเปกโทรฟลูออโรโฟโทเมทรี (Determination of Anthocyanin in Mao Juice by Spectrofluorophotometry)

Authors

  • ศศิธร อุดชาชน (Sasithorn Udchachon) Khon Kaen University
  • ดร.ศักดิ์สิทธิ์ จันทร์ไทย (Dr.Saksit Chanthai)

Keywords:

Anthocyanin (แอนโทไซยานิน), Mao juice (น้ำเม่า), Spectrofluorophotometry (สเปกโทรฟลูออโรโฟโทเมทรี)

Abstract

ในการหาปริมาณแอนโทไซยานินในน้ำเม่า โดยสเปกโทรฟลูออโรโฟโทเมทรีภายใต้สภาวะที่เหมาะสมนั้น จะใช้ความยาวคลื่นกระตุ้น 340 นาโนเมตร และความยาวคลื่นวาวแสง 450 นาโนเมตร สำหรับตัวอย่างน้ำเม่าที่เจือจาง 100 เท่า ขณะที่ใช้ความยาวคลื่นกระตุ้น 390 นาโนเมตร และความยาวคลื่นวาวแสง 460 นาโนเมตร สำหรับสารละลายเพลาร์โกนิดินได้ศึกษาผลของค่าพีเอช (pH 1-11) ของสารละลายน้ำเม่าที่มีต่อความเข้มแสงฟลูออเรสเซ็นซ์เช่นกัน พบว่า ให้ความเข้มแสงสูงสุดเมื่อใช้ฟอสเฟตบัฟเฟอร์ pH 6 กราฟมาตรฐานของสารละลายเพลาร์โกนิดินในช่วงความเข้มข้น 2.0-10.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สมการเส้นตรงคือ y = 66.076x+121.33 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.9906 ขีดจำกัดต่ำสุดของการตรวจวัด 0.93 มิลลิกรัมต่อลิตรและขีดจำกัดต่ำสุดของการหาปริมาณ 3.1 มิลลิกรัมต่อลิตร ร้อยละการคืนกลับของวิธีอยู่ในช่วง 79.65-90.45 จากนั้นจึงประยุกต์ใช้หาปริมาณแอนโทไซยานินในน้ำเม่าจากแหล่งผลิตต่างกันห้าชนิด พบว่า ปริมาณแอนโทไซยานินมีค่าใกล้เคียงกันอยู่ในช่วง 305.60-347.13 มิลลิกรัมต่อลิตรได้แก่ น้ำเม่าหลวงภูพาน (347.13±14.67 mg/L) น้ำเม่าไทรทอง (341.10±22.99 mg/L) น้ำเม่าช้างพลังสอง (321.43±26.54 mg/L) น้ำเม่าโคกศรีสุพรรณ (336.77±12.82 mg/L) และน้ำเม่าจากชัยภูมิ (305.60±29.58 mg/L)

 

ABSTRACT

This study was aimed to determine anthocyanins in Mao juice by spectrofluorophotometry under optimum conditions. The excitation wavelength of the Mao juice (diluted 100-fold solution) occurs at 340 nm and the emission wavelength is at 450 nm. The excitation wavelength of pelargonidin solution occurs at 390 nm with the emission wavelength of 460 nm, which is slightly different from those of the sample solution. The variation of pH value (pH 1-11) of the sample solution was also evaluated. The maximum relative fluorescence intensity was obtained using phosphate buffer solution at pH 6. Standard curve of pelargonidin solution (2-10 mg/L) was linearly constructed with y = 66.076x + 121.33 (R2 = 0.9906). The limits of detection and quantification were found to be 0.93 mg/L and 3.1 mg/L, respectively. The method recoveries of the Mao juice were found ranging from 79.65-90.45%. The developed method was applied to determine anthocyanins in the samples from different five production sources. From the results, the contents of anthocyanins were found in the range of 305.60-347.13 mg/L including Mao juice Luang Phuphan (347.13±14.67 mg/L), Mao juice Saithong (341.10±22.99 mg/L), Mao juice Chang Palungsong (321.43±26.54 mg/L), Mao juice Khok Srisuphan (336.77±12.82 mg/L), and Mao juice from Chaiyaphum (305.60±29.58 mg/L).

Downloads

Published

2016-01-25

Issue

Section

บทความวิจัย