การบำบัดน้ำชะมูลฝอยด้วยสารไทเทเนียมไดออกไซด์ (Leachate Treatment with Titanium Dioxide (TiO2))

Authors

  • สัฏฐวิชญ์ สาระพันธ์ (Sudthawit Sarapunth)
  • ดร.นิดา ชัยมูล (Dr.Nida Chaimoon)
  • ดร.เพชร เพ็งชัย (Dr.Petch Pengchai)

Keywords:

น้ำชะมูลฝอย (Leachate), ไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2) (Titanium Dioxide (TiO2)), โฟโตแคตาไลติก (Photocatalytic)

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการใช้ไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา  ด้วยแสงอัลตราไวโอเลต    ในการบำบัดน้ำชะมูลฝอย สถานีฝังกลบขยะมูลฝอยเทศบาลตำบลเชียงยืน  จังหวัดมหาสารคาม การทดลองหาสภาวะ   ที่เหมาะสม ทำโดยเครื่องจาร์เทสต์ และนำผลที่ได้ไปทดลองในภาคสนามด้วยปริมาณสารไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2)  ที่ใช้ในการทดลองคือ 10  15  20  25  และ 30 กรัม/ลิตร  ระยะเวลากวนผสม 4  5  และ 6 ชั่วโมง ผลการวิจัยพบว่าปริมาณไทเทเนียมไดออกไซด์  จำนวน 10 กรัม/ลิตร ระยะเวลากวนผสม 5 ชั่วโมง และค่าความเป็นกรด-เบส เท่ากับ 7 รังสีอัลตราไวโอเลต (UV Index) เท่ากับ 11  มีประสิทธิภาพการบำบัด ซีโอดี ดีที่สุดคือ ร้อยละ 77.5 และผลการทดลองหาค่าความเป็นกรด-เบส ที่มีความเหมาะสม โดยการปรับค่าความเป็นกรด-เบส ของน้ำชะมูลฝอยเป็น 2  4  6  8  และ 10  ตามลำดับ พบว่า ความเป็นกรดในช่วง 2-4 จะลดค่า ซีโอดี ได้ดีที่สุด แต่ในการทดลองภาคสนามซึ่งใช้ในสภาพจริงต้องคำนึงถึง ความปลอดภัยของอุปกรณ์และผู้ปฏิบัติงาน จึงได้ปรับค่าความเป็นกรด เท่ากับ 4.5 ปริมาณไทเทเนียมได-ออกไซด์  (TiO2 ) จำนวน 10 กรัม/ลิตร ระยะเวลากวนผสม 5 ชั่วโมง  รังสีอัลตราไวโอเลต (UV Index) เท่ากับ 8  ผลการวิจัยภาคสนาม พบว่าประสิทธิภาพการ  บำบัดค่า ซีโอดี เฉลี่ยร้อยละ 49.2 และประสิทธิภาพการบำบัดค่าบีโอดี เฉลี่ยร้อยละ  47.5

 

ABSTRACT

This research aimed to use titanium dioxide (TiO2) as a catalyst with ultraviolet light for leachate treatment in Chiang-Yuen municipal solid waste landfill ,Mahasarakham Province. Optimum  condition  was tested in  laboratory scale by  jar test   and  applied  to  full  scale  test  in  field.  The  jar  test was conducted by  varying  doses  of TiO2 at 10, 15, 20, 25 and 30 g/L and  mixing  duration  at  4, 5 and 6 hours. It was found that 10 g/L of TiO2  and 5 hours mixing  duration and 11 UV index  gave  the  highest  COD  removal  efficiency of 77.5 % The effect of leachate pH was  also investigated  by varying  pH of  the  leachate at  2, 4, 6, 8 and 10 The lower pH lead to higher COD removal efficiency but the pH in range of 2-4 could damage the equipment. There fore pH 4.5 was applied in the field along with 10 g/L of TiO2, 5 hours  mixing  duration  and 8 UV index. The results from the field test showed that the average COD removal efficiency was 49.2 % and the average BOD removal efficiency was  47.5 %.

Downloads

Additional Files

Published

2016-06-30

Issue

Section

Articles