ความตรงและความเที่ยงของแบบสอบถามสำหรับวัดกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนไทย พ.ศ. 2558 สำหรับกลุ่มอายุ 14-17 ปี (Validity and Reliability of the Physical Activity Questionnaire among Thai Children and Youth 2015 in Aged 14-17 Years)

Authors

  • จิระชัย คาระวะ (Jirachai Karawa) Graduate School, Khon Kaen University
  • ดร.คุรุศาสตร์ คนหาญ (Dr.Kurusart Konharn)
  • เสถียร เหล่าประเสริฐ (Satian Laoprasert)
  • สุภารัตน์ สุขแสง (Suparat Suksang)
  • ธีรัชพันธ์ มณีธรรม (Teerachpan Maneetam)

Keywords:

การวัดกิจกรรมทางกาย (Physical activity assessment), เครื่องวัดระดับกิจกรรมทางกาย (Activity tracker), นักเรียนระดับมัธยมศึกษา (Secondary-school students)

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตรงและความเที่ยงของแบบสอบถามกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชนไทย พ.ศ. 2558 สำหรับกลุ่มอายุ 14-17 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีอายุตั้งแต่ 14-17 ปี จำนวน 199 คน (ชาย 97 คน และ หญิง 102 คน) ได้รับการตอบแบบสอบถามกิจกรรมทางกายเป็นจำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน (นาที/สัปดาห์) และได้สวมใส่เครื่องวัดระดับกิจกรรมทางกาย (Feelfit) เป็นเวลา 7 วัน ๆ ละอย่างน้อย 10 ชั่วโมง โดยได้ทำการบันทึกข้อมูลจากเครื่องวัดระดับกิจกรรมทางกายเป็นประจำทุกวัน นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามกับเครื่องวัดระดับกิจกรรมทางกายไปทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเพื่อประเมินค่าความตรงและความเที่ยง ผลการวิจัยพบว่า แบบสอบถามมีความตรงในระดับต่ำมากถึงระดับสูง (r =.17 ถึง .69 และ P<.05) ตามระดับของกิจกรรมทางกาย ขณะที่ความเที่ยงอยู่ที่ระดับต่ำถึงระดับสูง (r =.27 ถึง .76 และ P<.05) ดังนั้นแบบสอบถามนี้มีความตรงและความเที่ยงในระดับที่ยอมรับได้

The purpose of this interrelationship study was to examine validity and reliability of the physical activity questionnaire (PAQ) for Thai children and youth 2015 in aged 14-17 years. This study was conducted in 199 secondary-school students (97 boys and 102 girls). All participants were requested to complete the PAQ to recall their physical activity (PA) time during past 7 days (min/week) and wore Activity Tracker (Feelfit) for seven consecutive days (with a minimum of 10 hours wear time/day). Validity was assessed by time (minute) of PAQ compared with objectively measured PA. Reliability was assessed by test-retest. Validity and reliability was analyzed by Pearson product moment correlation coefficient. The results found that validity of the PAQ was very low to high correlation (r =.17 to .69, P<.05) on the differences of PALs. While test-retest reliability of the PAQ all PALs was low to high correlation (r =.27 to .76, P<.05). Therefore the PAQ demonstrated an acceptable for validity and reliability. 

Downloads

Additional Files

Published

2017-09-15

Issue

Section

บทความวิจัย