การวิเคราะห์ความเชื่อมต่อ (nexus analysis) วาทกรรมวิพากษ์ในความสำเร็จของการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • สามชาย ศรีสันต์ สามชาย ศรีสันต์ หน่วยงานสังกัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต บัณฑิตอาสาสมัคร วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ความสนใจทางวิชาการ การเมืองของการพัฒนา จริยศาสตร์การพัฒนา วุฒิการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสหวิทยาการ (ความยากจน และการพัฒนา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่อยู่ติดต่อกลับ [email protected]

คำสำคัญ:

ศูนย์การเรียนรู้, การวิเคราะความเชื่อมต่อ, วิเคราะห์วาทกรรม, การพัฒนา

บทคัดย่อ

ศูนย์การเรียนรู้เป็นองค์กรทางสังคมที่มีบทบาทสำคัญเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายความสัมพันธ์ของประชาชน  และเป็นกลไกของการพัฒนาท้องถิ่น เนื่องจากศูนย์การเรียนรู้ในระดับชุมชน หมู่บ้านมีลักษณะเป็นองค์กรระดับท้องถิ่น รับผิดชอบและมีการบริหารโดยสมาชิกในชุมชน ศูนย์การเรียนรู้จึงแตกต่างจากองค์กรโดยทั่วไป ไม่มีงบประมาณที่มั่นคงต่อเนื่อง รวมทั้งไม่ได้มีเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรประจำ การดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย และถือเป็นความรู้ความสามารถที่ได้จากประสบการณ์การลงมือปฏิบัติของประชาชนในพื้นที่ บทความนี้ต้องการเสนอแนวทางการวิเคราะห์ที่เรียกว่า การวิเคราะห์ความเชื่อมต่อ (nexus analysis) ซึ่งเป็นวิธีวิทยา (method)  ที่มุ่งเน้นการการวิเคราะห์การกระทำทางสังคม (social action) ในสถานที่ ที่เงื่อนไขต่างๆ ได้มาเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้แสดง คำกล่าว (talk) ตัวบท (text) ภาพปรากฏ (images) ตลอดจนวัตถุ (material objects) ซึ่งจะนำไปสู่การตีความ และการมองศูนย์การเรียนรู้ที่ต่างไปจากเดิม การวิเคราะห์ความเชื่อมต่อ (nexus analysis) ในบทความนี้เป็นไปเพื่อตอบคำถามว่า ศูนย์การเรียนรู้ควรมีการดำเนินการอย่างไรจึงจะสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน โดยที่มีชุมชนเป็นเจ้าของ

คำสำคัญ: ศูนย์การเรียนรู้  การวิเคราะความเชื่อมต่อ  วิเคราะห์วาทกรรม  การพัฒนา

Downloads