ป้าดก๊องล้านนา : บริบท และสังคีตลักษณ์

Main Article Content

อุทาน บุญเมือง
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี
สุชาติ แสงทอง

Abstract

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทของวงป้าดก๊อง 2) เพื่อศึกษาสังคีตลักษณ์ทางดนตรีของวงป้าดก๊อง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ศึกษาข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสำรวจ สังเกต การสัมภาษณ์ โดยได้ผลวิจัย ดังนี้ ด้านการประสมวงป้าดก๊อง พบว่า เดิมไม่มีป้าดเอกและป้าดทุ้ม โดยล้านนาได้รับป้าดเอกและป้าดทุ้มมาจากสยามหรือภาคกลางของประเทศไทย โดยมีพัฒนาการของการประสมวงมาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ ขั้นตอนในการบรรเลงป้าดก๊อง พบว่า มีขั้นตอนที่เรียบง่ายทั้งนี้มีขั้นตอนก่อนบรรเลงที่สำคัญ ได้แก่ พิธีตั้งขันตั้ง (เครื่องกำนล) เพื่อบูชาครู โอกาสที่ใช้ป้าดก๊องในการบรรเลงส่วนใหญ่พบในงานฟ้อนผี และงานศพ ด้านสังคีตลักษณ์ของวงป้าดก๊องในปัจจุบันพบว่า บทเพลงส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยอัตราจังหวะ 3 ลักษณะ ได้แก่ จังหวะช้า จังหวะปานกลาง และจังหวะเร็ว ด้านทำนอง เสียงส่วนใหญ่เกิดจากเสียงเครื่องดนตรี 3 ชนิด ได้แก่ เครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ เครื่องดนตรีที่ทำจากโลหะ และเครื่องดนตรีที่ขึ้นด้วยหนัง เครื่องดนตรีดำเนินทำนองทุกเครื่องทำหน้าที่ประสานแบบอิสระไม่ตายตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทักษะของผู้บรรเลง ด้านการประสานเสียงพบว่า เครื่องดนตรีในวงป้าดก๊องใช้วิธีการบรรเลงเป็นคู่ 2 ถึง คู่ 8 ด้านคีตลักษณ์พบว่า บทเพลงส่วนใหญ่เป็นบทเพลงท่อนเดียว

Article Details

How to Cite
บุญเมือง อ., พิกุลศรี เ., & แสงทอง ส. (2019). ป้าดก๊องล้านนา : บริบท และสังคีตลักษณ์. Humanities and Social Sciences Nakhonsawan Rajabhat University Academic Journal, 6(1), 44–73. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hssnsru/article/view/213057
Section
Academic article

References

ปัญญา รุ่งเรือง. (2546). ประวัติการดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช จำกัด.
ปานจรี ดีอนันต์ลาภ. (2549). การสืบทอดวงป้าดในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปานจรี ดีอนันต์ลาภ. ผู้ควบคุมวงดนตรีไทยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. (2558, 25 ตุลาคม). สัมภาษณ์.
พิพัฒน์พงศ์ มาศิริ. (2552). ป้าดก๊อง: วงปี่พาทย์ล้านนาในบริบทสังคมเชียงใหม่ปัจจุบัน.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2530). เอื้องเงิน. กรุงเทพฯ: รักศิลปะ.
มาริสา แก้วแดง. (2547). การปรับตัวของนักดนตรีพื้นบ้านในบริบทของสังคมเมืองเชียงใหม่วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัชรพงษ์ จันต๊ะวงค์. หัวหน้าวงป้าดก๊องคณะทุ่งบ่อแป้นศิลป์. (2558, 9 ธันวาคม). สัมภาษณ์.
สงกรานต์ สมจันทร์. อาจารย์สาขาดนตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2558, 25 ตุลาคม). สัมภาษณ์.
สนั่น ธรรมธิ. (2538). ดนตรีพื้นบ้านล้านนา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พลับลิชซิ่ง.
องอาจ สุกใส. นักดนตรีและทาญาตินายหาร สุกใส. (2560, 13 มีนาคม). สัมภาษณ์.
อำนวย มหามิตร. หัวหน้าวงป้าดก๊องคณะช่างแต้มบันเทิงศิลป์. (2558, 8 ธันวาคม). สัมภาษณ์.