The Effect of Teaching by Using Cooperative Learning with CIRC Technique for Reading Comprehension and Attitudes Toward English Subject of Prathomsuksa 5 Students

Main Article Content

จันจิรา จันทสุทธิบวร
สุธาทิพย์ งามนิล

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  2) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี (Cooperative Integrated Reading and Composition)


        กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 25 คน จากโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดแสงธรรมสุทธาราม) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) 


        เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคซี ไอ อาร์ ซี วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ 3.51   2) แบบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.24 - 0.68 มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.20 - 0.52 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80  3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับจำนวน 18 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นกับ 0.77 สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย() ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test (Dependent Sample)                    


              ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคซี ไอ อาร์ ซี มีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคซี ไอ อาร์ ซี มีเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
จันทสุทธิบวร จ., & งามนิล ส. (2019). The Effect of Teaching by Using Cooperative Learning with CIRC Technique for Reading Comprehension and Attitudes Toward English Subject of Prathomsuksa 5 Students. Humanities and Social Sciences Nakhonsawan Rajabhat University Academic Journal, 6(1), 47–92. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hssnsru/article/view/213060
Section
Editorial

References

จักรพรรดิ คงนะ. (2550). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับปัญหาของวัยรุ่น
ตอนต้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหลวงพ่อแช่มวัดตาก้องอนุสรณ์
จังหวัดนครปฐม. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิราวรรณ อารยัน. (2556). การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนใน
เขตจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ชมพูนุช บุญอากาศ. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบCIRCร่วมกับเทคนิคการสะท้อนคิดที่มีต่อ
ความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ:
แดเน็กซ์.
ชูจิตร เนื่องโนราช. (2551). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยการเรียนแบบร่วมมือของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นัยนา จันตาวงศ์. (2550). การพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษา ปีที่ 6 โดยใช้วิธี ซี ไอ อาร์ ซี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตร
และการสอน). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เนตรวรา ศรีสิน. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคซี ไอ อาร์ ซี เพื่อพัฒนาทักษะ
การอ่าน ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษา
ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ชลบุรี.
พิชญาภา อินธิแสง. (2558). การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษทักษะการคิดวิเคราะห์
และความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคCIRCร่วมกับ
ผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.
มหาวิยาลัยราชภัฎสกลนคร.
ฟองจันทร์ สุขยิ่ง, และคณะ. (2550). ศิลปะการอ่านอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2551). เทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมสมร ทีภูเวียง. (2552). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ที่มีต่อความสามารถในการอ่าน
ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการทางานกลุ่มของนักเรียน ชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2550). หลักการและวิธีการสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุณี แสงทอง. (2552). ผลการใช้กลุ่มสัมพันธ์เพื่อสร้างเจตคติในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดทองสุทธาราม กรุงเทพมหานคร. ปริญญา
นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อภิรักษ์ โต๊ะตาหยง. (2554). ผลของการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือแบบบูรณาการการอ่านและ
การเขียน(CIRC) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน
สองภาษา, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา).
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.