โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่น ในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

สุริยา ฟองเกิด
กัญญาวีณ์ โมกขาว
สรวงทิพย์ ภู่กฤษณา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และศึกษาอิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และอิทธิพลรวมต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือ วัยรุ่นในจังหวัดชลบุรี จำนวน 397 คน เครื่องมือมี 6 ส่วน คือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, พฤติกรรมเดิม, การรับรู้ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม, อิทธิพลของความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม, ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติพฤติกรรม และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ มีการตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถาม พบว่า แบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมเดิม, การรับรู้ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม, อิทธิพลของความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม และความมุ่งมั่นในการปฏิบัติพฤติกรรม มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบราค เท่ากับ .91, .91, .89, .87, .83 ตามลำดับ วิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม AMOS


ผลการวิจัยพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติไคสแควร์ เท่ากับ 251.50  องศาอิสระ เท่ากับ 286 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.85 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่าความคลาดเคลื่อนการประมาณ ค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.02 และโมเดลอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นได้ร้อยละ 33 อิทธิพลของความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม, การรับรู้ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม และความมุ่งมั่นในการปฏิบัติพฤติกรรมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (β = .19, β = .06, β = .17 ตามลำดับ) ดังนั้นองค์กรสุขภาพจึงมีบทบาทสำคัญในการความสร้างความตระหนักและสร้างพลังอำนาจให้แก่วัยรุ่นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้วัยรุ่นมีสุขภาพที่ดี และพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่นไทยในศตวรรษที่ 21 ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonarakorn, S. (2012). Holistic Health promotion all ages. 4th ed. Songkhla: Printing Temples. (in Thai)

สกุณา บุญนรากร. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. สงขลา: เทมการพิมพ์.

Brenda, J. S., & Barbara, V. F. (2006). Health Promotion in Adolescents: A Review of Pender’s Health Promotion Model. Nursing Science Quarterly, 19(4), 366-373.

Bureau of Non-Communicable Disease Control Department, Ministry of Public Health (2016). Annual Report 2015. Bangkok: Office of the Publishing Enterprise, Veterans Administration under Royal Patronage. (in Thai)

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

Charkazi, A., et al. (2016). Predicting Oral Health Behavior using the Health Promotion Model among School Students: a Cross-sectional Survey. International journal and pediatrics, 4(5), 2069- 2077.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Ham, R. L. (2010). Multivariate Data analysis. 7th ed. New Jersey: Prentice Hall.

Jampakrai, A. (2014). Migration of Workers and their Impact on Families and Children in ASEAN: What to Expect. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research Mahidol University. (in Thai)

อารี จำปากลาย. (2557). การย้ายถิ่นของแรงงานกับผลกระทบต่อครอบครัวและเด็กในสังคมอาเซียน: สิ่งที่ได้กับสิ่งที่ต้องสูญเสีย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

Kasiphol, T., Lekwichitthada, P., & Jinayon, A. (2012). Selected Factors Influencing Health Promotion Behaviors of Huachiew Chalermprakiet University Students. HCU Journal, 15(30), 31-46. (in Thai)

ทวีศักดิ์ กสิผล, ภัทรา เล็กวิจิตรธาดา และอัจฉรา จินายน. (2555). ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 15(30), 31-46.

Pender, N. J., Murdaugh, C., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice. 6th ed. Boston: Pearson.

Petchruschatachart, U., Balthip, K., & Piriyakoontorn, S. (2016). Life’s Assets and Quality of Life of Thai Junior High School Adolescent, Songkhla Province. Songklanagarind Journal of Nursing, 36(Supplement), 55-69. (in Thai)

อุษณีย์ เพชรรัชตะชาติ กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์ และศิริวรรณ พิริยคุณธร. (2559). ต้นทุนชีวิตและคุณภาพชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดสงขลา. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36(ฉบับพิเศษ), 55-69.

Pookitsana, S., Mokekhaow, K., & Fongkerd, S. (2016). Influencing Factors of Health Promoting Behavior of Adolescents in the Area of Responsibility of Muang Chon Buri Hospital. Research Methodology & Cognitive Science Journal, 14(2), 114-124. (in Thai)

สรวงทิพย์ ภู่กฤษณา, กัญญาวีณ์ โมกขาว และ สุริยา ฟองเกิด (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลเมืองชลบุรี. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(2), 114-124.

Sarnwirot, A., & Chanyam, K. (2014). Factors influencing health promotion behavior of Prince of Songkla University students Hat Yai Campus. Journal of Agriculture (Society), 35, 223-234. (in Thai)

อรุณรัตน์ สารวิโรจน์ และ กานดา จันทร์แย้ม. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม), 35, 223-234.

Steinberg, L. (2002). Adolescence. 6th ed. Boston, MA: McGraw Hill.

Taymoori, P., Lubans, D., & Berry, T. R. (2016). Evaluation of the Health Promotion Model to Predict Physical Activity in Iranian Adolescent Boys. Health Education & Behavior, 37(1), 84-96.

Tipwong, A., & Numpoon, J. (2014). Relationships between health status, obesity and dietary habits, and physical exercise in overweight children. Bangkok. Journal of Public Health Nursing, 28(2), 1-11. (in Thai)

อารยา ทิพย์วงศ์ และจารุณี นุ่มพูล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางด้านสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วนกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(2), 1-11.