รูปแบบและเนื้อหาของวรรณกรรมภาคใต้ยุคการพิมพ์ พ.ศ. 2470 – 2520

Main Article Content

พัชลินจ์ จีนนุ่น
วราเมษ วัฒนไชย
ปริยากรณ์ ชูแก้ว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและเนื้อหาของวรรณกรรมภาคใต้ยุคการพิมพ์ พ.ศ. 2470 - 2520 และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการสร้างกับการเสพวรรณกรรมกลุ่มนี้ โดยใช้กลุ่มข้อมูลวรรณกรรมจำนวน 32 เรื่องที่รวบรวมได้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ผลการศึกษาพบว่าวรรณกรรมภาคใต้ยุคการพิมพ์ มีรูปแบบและเนื้อหาที่หลากหลาย ด้านรูปแบบคำประพันธ์มีทั้งคำประพันธ์ที่รับมาจากภาคกลาง เช่น กลอนเพลงยาว กลอนสุภาพ และฉันท์ชนิดต่างๆ และคำประพันธ์ท้องถิ่น เช่น กลอนสี่ กลอนเพลงบอก และกลอนกำพรัด โดยเน้นคำประพันธ์ประเภทกลอนมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เอื้อต่อประเพณีการสวดหนังสือและการแสดงหนังตะลุงหรือโนราของศิลปินชาวใต้ สำหรับเนื้อหาพบว่ามี 6 ประเภท ได้แก่ นิราศ คำสอน ศาสนา บันทึก นิยายประโลมโลกและกลอนโนรา โดยเนื้อหาอิงกับบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทยภาคใต้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา เกิดจากมีการสร้างกับการเสพกันมากบริเวณนี้ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการสร้างกับการเสพ พบว่ามี 2 ปัจจัยหลัก ปัจจัยแรกมาจากคนและสังคมท้องถิ่น ได้แก่ การมีผู้สร้างเป็น “คนใน” ของชุมชน ทั้งพระสงฆ์ ข้าราชการท้องถิ่นและชาวบ้าน การให้ความสัมพันธ์กันทางเครือญาติของคนบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา การอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม การรับอิทธิพลจากวัฒนธรรมการละเล่นในท้องถิ่น และบริบทจากสภาพแวดล้อมชุมชน ส่วนปัจจัยที่สอง มาจากการรับอิทธิพลจากบริบทสังคมส่วนกลางและวัฒนธรรมตะวันตก ได้แก่ นโยบายการสร้างชาติของรัฐบาล การรับอิทธิพลจากระบบทุนนิยมและบริโภคนิยม และการรับอิทธิพลจากหนังสือวัดเกาะของภาคกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Damsri, W. (2012). Southern Thai literature: Knowledge and education guideline of Southern Nakhon Si Thammarat literature. Nakhon Si Thammarat: Nakhon Si Thammarat Rajabhat. (in Thai).

วิมล ดำศรี. (2555). วรรณกรรมท้องถิ่น: สาระความรู้และแนวทางการศึกษา กรณีศึกษา การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

Jeennoon, P. (2012). Characteristics and social roles of the Southern didactic literature in booklet format. Ph.D. Dissertation, Chulalongkorn University. (in Thai).

พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2555). ลักษณะเด่นและบทบาททางสังคมของวรรณกรรมคำสอนภาคใต้ ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎิบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

John Peck and Martin Coyle. (2002). Literary Terms and Criticism. 3rd ed. New York: Palgrave Macmillan.

Nualsri, T. (1968). The Verse Teaching Ones’ Hearts. 13th ed. Songkhla: Mueng Songkhla printing house. (in Thai).

ทอง นวลศรี. (2511). คำกลอนสอนใจ. พิมพ์ครั้งที่ 13. สงขลา: โรงพิมพ์เมืองสงขลา.

Playlex, P. (1998). Nirat of the Rattanakosin period: the continuation of literary convention from Prince Thamathibet's work. M.A. Dissertation, Chulalongkorn University. (in Thai).

สุภาพร พลายเล็ก. (2541). นิราศสมัยรัตนโกสินทร์: การสืบทอดขนบวรรณศิลป์จากพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร. วิทยานิพนธ์ปรญญา อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Pongpaiboon, S. (1999). Southern Thai literature. In Southern Cultural Encyclopedia (No. 8, pp. 7055-7056). Bangkok: Siam Commercial Bank PCL. (in Thai).

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2542). วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ (เล่มที่ 8, หน้า 7055-7056). กรุงเทพฯ: ธนาคารไทยพานิชย์.

Praraja Pariyat (Siritharo, S.). (2005). Research report and Religion literature 2th ed. Bangkok: Mahachulalongkorn Raja Vidyalaya.

พระราชปริยัติ (สฤดิ์ สิริธโร). (2548). งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Saengthong, P. (2002). The study of economic and social characteristics of farmer communities in the Songkhla lake area in Niras. M.A. Dissertation, Ramkamhaeng University. (in Thai).

พิเชฐ แสงทอง. (2545). ศึกษาลักษณะเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชาวนาบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในวรรณกรรมนิราศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Suksai, W. (2003). An analysis of socio-economic reflections of the communities around the Songkhla lagoon basin as found in local verse literature in the age of printing (1929-1960). M.A. Dissertation, Thaksin University. (in Thai).

วินัย สุกใส. (2547). วิเคราะห์ภาพสะท้อนเศรษฐกิจสังคมชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทร้อยกรองในยุคการพิมพ์ (พ.ศ. 2472 - 2503). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Tham Kub Khloi. (1953). The Verse Teaching the Poor’s Hearts. Songkhla: Songkhla Phanich printing house. (in Thai)

ท้ามกับคล้อย. (2496). คำกลอนสอนใจคนจน. สงขลา: สงขลาพานิช.