1 ทศวรรษนวนิยายจีนแนวพาฝัน: กรณีศึกษานวนิยายมากกว่ารักที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2551-2560 ของสำนักพิมพ์แจ่มใสกับสังคมไทย

Main Article Content

กุลศิริ อังสนันท์สุข
กนกพร นุ่มทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของนวนิยายมากกว่ารักของสำนักพิมพ์แจ่มใสที่มีการตีพิมพ์วางจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2560 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความนิยม รวมไปถึงคุณค่าและประโยชน์ทางสังคมของนวนิยายมากกว่ารัก โดยใช้วิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลรายชื่อนวนิยายทั้งหมด ผลสรุปคำตอบแบบสอบถามทางออนไลน์ของกลุ่มผู้อ่านนวนิยายจีนในเฟซบุ๊กจำนวน 200 คน และการสัมภาษณ์คุณปิยรัตน์ พินิจประภา หัวหน้าบรรณาธิการสำนักพิมพ์ในเครือแจ่มใสกรุ๊ป นับตั้งแต่นวนิยายมากกว่ารักเริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการมาจนถึงปัจจุบัน ก็ได้รับความนิยมจากผู้อ่านมาโดยตลอด มีส่วนสำคัญทำให้นวนิยายจีนแนวพาฝันเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่าความยาวเรื่องของนวนิยายมากกว่ารักเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในระยะแรกเน้นผลงานนวนิยายเล่มเดียวจบ จนเปลี่ยนเป็นนวนิยายหลายเล่มจบมากขึ้น ส่วนการจัดชุดนวนิยายจะเลือกเป็นชุดจากต้นฉบับภาษาจีนหรือสำนักพิมพ์ นำนวนิยายมาจัดชุดเอง โดยตั้งชื่อหรือแปลชื่อชุดด้วยคำสละสลวยดึงดูดใจผู้อ่าน นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความนิยมของนวนิยายมากกว่ารักประกอบด้วย ภูมิหลังและช่วงวัยของผู้อ่าน แนวทางการทำงานและคุณภาพงานของสำนักพิมพ์ สุดท้ายคือการรีวิวและการนำ นวนิยายไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ซึ่งความนิยมที่มีต่อนวนิยายยังกระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน สนใจการเรียนภาษาจีนเพิ่มขึ้น อีกทั้ง มีส่วนช่วยสร้างกระแสรักการอ่านในสังคมไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bhophum, P. (2017). 60 Buddhist Decade of Thai Novel. Retrieved August 1, 2017, from https://waymagazine.org/thai_novel_prediction/. (in Thai).

พชร์ โพธิ์พุ่ม. (2560). พุทธทศวรรษ 60 ของนวนิยายไทย. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560, จาก https://waymagazine.org/thai_novel_prediction/.

Chinese-Thai Translation Subcommittee, the Secretariat of the Prime Minister. (2000). Standard Mandarin Chinese Translation to Thai. Pathum Thani: Thammasat University. (in Thai).

คณะอนุกรรมการพิจารณาเกณฑ์การถ่ายถอดเสียงภาษาจีนเป็นภาษาไทย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2543). เกณฑ์การถ่ายทอดเสียงภาษาจีนแมนดารินด้วยอักขรวิธีไทย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Chotiudompant, S. (2016). Theories of Western Literary Criticism in the Twentieth Century. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. 2559. ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 20.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hunrod, P. (2016). The Reading Behaviors and Satisfication of Period Chinese Romance Story Reader. Master of Arts Program in Mass Communication Adminstration, Thammasat University. (in Thai)

พรพิรุณ หุ่นรอด. (2559). พฤติกรรมการอ่าน ความพึงพอใจของผู้อ่านนิยายรักโรแมน ติกจีนย้อนยุค. สารนิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Jantasok, P. (2012). Love from Books. Retrieved October 30, 2017, from http://www.happyreading.in.th/article/detail.php?id=1682. (in Thai).

พรชัย จันทโสก. (2555). ความรักในหนังสือ. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2560, จาก http:// www.happyreading.in.th/article/detail.php?id=1682.

Numun, W. (2009). Realistic Novels: Modern “Didactic” Literature. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 5(2), 71-105. (in Thai).

วรรณนะ หนูหมื่น. (2552). นวนิยายฉายภาพชีวิต: วรรณกรรม “คำสอน” สมัยใหม่.วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 5(2), 71-105.

Pinijprapa, P. (2018, April 25). Editor. Interview. (in Thai).

ปิยะรัตน์ พินิจประภา. (2561, 25 เมษายน). บรรณาธิการ. สัมภาษณ์.

Rakmanee, S. (2015). Novel Writing. Bangkok: Sampachanya. (in Thai).

สมเกียรติ รักษ์มณี. (2558). การแต่งนวนิยาย. กรุงเทพฯ: สัมปชัญญะ.

Satchaphan, R. (2013). Modern Literature. 18th ed. Bangkok: Ramkhamhaeng University. (in Thai).

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2556). วรรณกรรมปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

_______. (2014). Influence of Foreign Literature to Thai Literature. 12th ed. Bangkok: Ramkhamhaeng University. (in Thai).

_______. (2557). อิทธิพลวรรณกรรมต่างประเทศที่มีต่อวรรณกรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Srisinthon, P. (2015). The Reception of Modern Chinese Literature by Thai’s Readers. Chinese Studies Journal Kasetsart University, 8(1), 1-23. (in Thai).

ไพรินทร์ ศรีสินทร. (2558). การตอบรับวรรณกรรมจีนสมัยใหม่ของผู้อ่านไทย. วารสารจีนศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 8(1), 1-23.

Suksai, W. (2010). Evolution of Chinese Literature in Thai Language since 2411-2475 B.E. (Part 1). Chinese Studies Journal Kasetsart University, 3 (3), 212-240. (in Thai).

วินัย สุกใส. (2553). วิวัฒนาการวรรณกรรมจีนในภาษาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2411–2475 (ตอนที่ 1). วารสารจีนศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 3(3), 212-240.

_______. (2011). Evolution of Chinese Literature in Thai Language since 2411-2475 B.E. (Part 2). Chinese Studies Journal Kasetsart University, 4(4), 131-176. (in Thai).

_______. (2554). วิวัฒนาการวรรณกรรมจีนในภาษาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2411–2475 (ตอนที่ 2). วารสารจีนศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(4), 131-176.

Wiwatsorn, W. (2014). Literary Translation. 3rd ed. Bangkok: Faculty of Arts Chulalongkorn University’s Academic Publishing Project. (in Thai).

วัลยา วิวัฒน์ศร. (2557). การแปลวรรณกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.