รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ เพื่อเสริมสมรรถนะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28

Main Article Content

พิชยาศิริ พิมพ์ทราย
ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม
จำลอง วงษ์ประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ เพื่อเสริมสมรรถนะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของครูคณิตศาสตร์ที่ได้รับการยกย่อง และ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ฯ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ คือ ครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยม ศึกษาตอนต้น ที่ได้รับการยกย่อง จำนวน 3 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มเป้าหมายในพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ จำนวน 6 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ทั้งสองชนิดมีค่าความตรงตามเนื้อหาระดับสูง ค่า CVR ตั้งแต่ 0.80-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ 3 ด้าน คือ (1) ด้านความรู้ โดยการสอนเนื้อหา การตั้งคำถามและช่วยกันสรุปความรู้ (2) ด้านกระบวนการ โดยการลงมือปฏิบัติจริง นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (3) ด้านคุณลักษณะของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีในการเรียนคณิตศาสตร์ แต่ละขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ ควรให้ผู้เรียนทราบถึงปัญหาว่าปัญหานั้นคืออะไร วิเคราะห์ให้ได้ว่าปัญหานั้นมีขอบเขตข้อมูลอย่างไร จะใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องใดมาแก้ปัญหา แปลงปัญหาให้อยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตรวจสอบและสรุปคำตอบของปัญหา โดยสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ควรเป็นสื่อของจริงและสื่อสัมผัส นักเรียนได้ใช้เอง มีใบงานบันทึกระหว่างทำกิจกรรม และทบทวน สรุปความรู้ และการวัดผลประเมินผลควรมีการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลาย วัดผลตามสภาพจริง และนำผลที่ได้มาปรับปรุงพัฒนานักเรียน และ 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ฯ ที่พัฒนาขึ้นมีผลการประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Collin, G. P. (2015). An Improved Representation of Mathematical Modelling for Teaching, Learning and Research. International Journal of Innovation in Science and Mathematics Education, 23(4), 54-60.

Gravemeijer, K. (1997). Mediating Between Concrete and Abstract. In T. Nunens & P. Bryant (Eds.), Learning and Teaching Mathematics: An International Perspective. (pp. 321-322). Hove: Psychology Press.

Khammani T. (2009). Science of Teaching: A Knowledge-Based Approach to Learning Process. 20th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Lawshe, C. H. (1975). A qualitative approach to content validity. Personnel Psychology, 28, 563-575.

Ministry of Education. (2008). Indicators and learning substance of Mathematics the Core Curriculum of Basic Education in 2008. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand. (in Thai).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

Nation Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (1993). Assessment in the Mathematics Classroom. Reston: NCTM.

National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2015). The result of O-NET reports 2015. Retrieved March 30, 2015, from http://www/niets.or.th/. (in Thai).

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). ประกาศและรายงานผลการทดสอบ O-NET ปี 2558. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2558, จาก http://www/ niets.or.th/.

Organisation For Economic Co-Operation And Development (OECD). (1999). Measuring Student Knowledge and Skills A New Framework for Assessment. Paris: OECD Publications.

_______. (2009). PISA 2009 Assessment Framework - Key Competencies in Reading, Mathematics and Science. Retrieved September 5, 2016, from http://www.oecd.org/edu/school/programme for international student assessment pisa/pisa 2009 assessment framework key competencies in reading mathematics and science. htm.

Secondary Educational Service Area Office 28. (2015-2016). Policy, Strategy and highlight of Secondary Educational Service Area Office 28 in 2015. Srisaket: Secondary Educational Service Area Office 28. (in Thai).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (2558-2559). นโยบาย กลยุทธ์ จุดเน้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ประจำปี 2558. ศรีสะเกษ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28.

Sinlarat, P. (2015). Thinking machine. Bangkok: Dhurakij Pundit University. (in Thai).

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2558). ศาสตร์การคิด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Srisa-ard, B. (2011). Teaching Development. 2nd ed. Bangkok: Chomromdek. (in Thai).

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การพัฒนาการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

Susaorat, P. (2010). Thinking Development. 4th ed. Bangkok: 9119 Technic Printing. (in Thai).

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012a). Mathematizing Assessment. Bangkok: Se-education. (in Thai).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555ก). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012b). The example of PISA Test: Mathematics. 2nd ed. Bangkok: V.J. Printing. (in Thai).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555ข). ตัวอย่างข้อสอบการประเมินผลนานาชาติ PISA: คณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2016). The PISA 2015 assessment results. Bangkok: V.J. Printing. (in Thai).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). ผลการประเมิน PISA 2015. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.