การเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมเพื่อการสร้างสรรค์บทเพลงฝึกพื้นฐานสำหรับ วงดุริยางค์เครื่องลมจากบทเพลงพื้นเมืองล้านนา

Main Article Content

อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทำนองเพลงพื้นเมืองล้านนาที่เหมาะสมต่อการสร้างสรรค์บทเพลงสำหรับฝึกพื้นฐานของวงดุริยางค์เครื่องลมในจังหวัดเชียงราย และเพื่อสร้างสรรค์บทเพลงสำหรับฝึกพื้นฐานของวงดุริยางค์เครื่องลมจากทำนองเพลงพื้นเมืองล้านนาในจังหวัดเชียงราย ประชากรที่ศึกษาได้แก่ ครูสอนดนตรีพื้นเมือง ครูผู้ควบคุมและนักเรียนวงดุริยางค์เครื่องลม โดยมีเครื่องมือการวิจัยได้แก่แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามและเพลงสำหรับฝึกพื้นฐานของวงดุริยางค์เครื่องลม


              ผลการศึกษาพบว่า การเลือกเพลงที่นำมาสร้างสรรค์เป็นบทเพลงสำหรับฝึกพื้นฐานของวงดุริยางค์เครื่องลม พิจารณาจากทำนองเพลงเป็นทำนองที่ครูสอนดนตรีพื้นเมืองล้านนาทุกท่านใช้สอนทำนองเพลงที่เป็นที่รู้จักของนักเรียน อีกทั้งเลือกจากการเคลื่อนทำนองที่ไม่ข้ามขั้นมากเกินไป ซึ่งการข้ามขั้นของทำนองที่กว้างมากจะยากต่อการบรรเลงโดยเครื่องดนตรีของนักเรียน จึงได้ทำนองเพลง 8 ทำนอง ที่เหมาะสมต่อการสร้างสรรค์เป็นเพลงสำหรับฝึกพื้นฐานของวงดุริยางค์เครื่องลม ได้แก่ ล่องแม่ปิง ฤาษีหลงถ้ำ ปราสาทไหว ปุ๋มเป้ง สร้อยเวียงพิงค์ ระบำไก่แจ้ ฟ้อนสาวไหม และหมู่เฮาจาวเหนือ บทเพลงสำหรับฝึกพื้นฐานของวงดุริยางค์เครื่องลม “คะนึงหาล้านนา” เป็นการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงพื้นเมืองล้านนาให้มีลักษณะเป็นแบบคอราลสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม ประกอบด้วยเพลงย่อยจำนวน 8 เพลง แนวคิดที่ใช้ในการเรียบเรียงเสียงประสานใช้ระบบอิงกุญแจเสียง โดยให้ความสำคัญกับศูนย์กลางเสียงและเนื้อดนตรีเป็นแบบแปรแนว อัตราจังหวะกำหนดให้เป็นแบบ 4/4 กุญแจเสียงที่ใช้ ได้แก่ บีแฟลตเมเจอร์ เอฟเมเจอร์ อีแฟลตเมเจอร์ โมดซีเอโอเลี่ยนและโมดซีมิกโซลีเดียน มีการใช้การสร้างทำนองรอง การซ้ำห้วงลำดับทำนอง การเลียนทำนอง การใช้จังหวะขัด การเคลื่อนทำนองแบบสวนทาง การแปรทำนอง และทำนองสีสัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Nakwong, T. (2001). Kodaly To Practice. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai).

ธวัชชัย นาควงษ์. (2544). โคไดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Navigmul, A. (2007). Folk Song. Bangkok: TK Park. (in Thai).

อเนก นาวิกมูล. (2550). เพลงพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: สำนักอุทยานการเรียนรู้.

Strategy and Cultural Surveillance Group of Loei Cultural Office. (2012). Mean of cultural surveillance. Retrieved September 15, 2016, from http://province.m-culture.go.th/loei/PR/PR1.pdf (in Thai).

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย กลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. (2555). แนวทางการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2559, จาก http://province.mculture.go.th/loei/PR/PR1.pdf

Sutthajitt, N. (2012). Music Education: Principles and Essentials. 9th ed. Bankok: Chulalongkorn University. (in Thai).

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา: หลักการและสาระสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Yuangsri, T. (1997). Music Sing Lanna Dance. Chiangmai: Suriwong Book Center. (in Thai).

ธีรยุทธ ยวงศรี. (2540). การดนตรี การขับ การฟ้อนล้านนา. เชียงใหม่: สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์.