การเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมเพื่อการดำรงอยู่ของช่างทำเครื่องดนตรีพื้นเมือง ในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

กัลยาณี สายสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลช่างทำเครื่องดนตรีพื้นเมือง ศึกษาการผลิตและการจำหน่ายเครื่องดนตรีพื้นเมือง และวิเคราะห์สภาพการณ์การดำรงอยู่ของช่างทำเครื่องดนตรีพื้นเมืองในจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมในเชิงรุกที่ประกอบด้วยการจัดเก็บความรู้ทางวัฒนธรรมและวิเคราะห์สภาพปัญหา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวทางการศึกษาทางมานุษยดนตรีวิทยา ผลการวิจัยพบว่า ช่างทำเครื่องดนตรีพื้นเมืองในจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยกลุ่มช่างทำสะล้อและซึง กลุ่มช่างทำกลอง และกลุ่มช่างทำปี่จุม การผลิตเครื่องดนตรีเป็นลักษณะของงานทำมือ วัสดุส่วนใหญ่เป็นไม้ซึ่งหาได้ในท้องถิ่นหรือจังหวัดใกล้เคียง โดยช่างทำเครื่องดนตรีเพียงคนเดียว ไม่มีผู้ช่วย และทำเครื่องดนตรีตามการสั่งซื้อหรือทำเก็บไว้ใช้เอง สภาพการณ์ในปัจจุบันพบว่า ช่างทำเครื่องดนตรีพื้นเมืองมีประสบการณ์และความชำนาญในการทำเครื่องดนตรีเป็นอย่างดี และยังมีบทบาทในด้านการถ่ายทอดดนตรีให้แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไป แต่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุและขาดผู้สืบทอด ในด้านการจำหน่ายพบว่าไม่มีตลาดรองรับและยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่มีโอกาสที่ดีในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมช่างทำเครื่องดนตรีพื้นเมือง เนื่องจากในจังหวัดเชียงรายมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอยู่โดยตลอดและงานรวมกลุ่มนักดนตรีพื้นเมืองทั้งในระดับจังหวัดและกลุ่มภาคเหนือ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kaewsri, S. (2010). Salaw and Seung: a wisdom of Lanna Music. Master Thesis in Department of Cultural Studies, Mae Fah Luang University. (in Thai).

สุคำ แก้วศรี. (2553). สะล้อและซึง: ภูมิปัญญาดนตรีพื้นบ้านล้านนา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

Lountrattan-ari, P. (2003). The strength of drum making culture: a case study of Ban Pak Nam, tambon Ekkaraj, ampoe Pamoke, Ang Thong province. Master Thesis in Department of Anthropology, Srinakharinwirot University. (in Thai).

ประเสริฐ เล้ารัตนอารีย์. (2546). ความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมการทำกลอง: กรณีศึกษาหมู่บ้านปากน้ำ ตำบลเอกราช อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Pidokrat, N. (2006). Potential of folk music and the way to develop the potential of Thai folk music. In Seminar of the potential of Thai folk music. September 4 - 6, 2006. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat. (in Thai).

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2549). ศักยภาพดนตรีพื้นบ้านกับการก้าวสู่วิถีการพัฒนาศักยภาพ ดนตรีพื้นบ้านไทย. ใน การสัมมนาศักยภาพดนตรีพื้นบ้านไทย. 4 - 6 กันยายน 2549 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่: ราชภัฏเชียงใหม่.

Punyanunt, P. (2013). Meephoom business plan Pin Esan. Independent study, Program in Music Research and Development Silpakorn University. (in Thai).

ปริญญา ปัญญานันท์. (2556). แผนธุรกิจ มีภูมิ พิณอีสาน. การค้นคว้าอิสระปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Sornsri, A. (2003). The Sueng in music culture of Chiang Mai. Master’s Thesis in music, Mahidol University. (in Thai).

เอกพิชัย สอนศรี. (2546). ซึงในวัฒนธรรมดนตรี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล.

Strategy and Cultural Surveillance Group of Loei Cultural Office. (2012). Mean of cultural surveillance. Retrieved September 15, 2016, from http://province.m-culture.go.th/loei/PR/PR1.pdf (in Thai).

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย กลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. (2555). แนวทางการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2559, จาก http://province.m-culture.go.th/loei/PR/PR1.pdf