คุณลักษณะทางภาษาของหมอสมุนไพรพื้นบ้านไทยอีสาน

Main Article Content

กมลมาลย์ คำแสน
ธนานันท์ ตรงดี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงภาษาศาสตร์สังคม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณลักษณะทางภาษาของหมอสมุนไพรพื้นบ้านไทยอีสานที่สามารถแสดงให้ถึงอำนาจทางสังคม กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคิดคุณลักษณะทางภาษา (Attribute) กลุ่มตัวอย่าง คือ หมอสมุนไพรพื้นบ้านไทยอีสานจากจังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น และศรีษะเกษ จำนวน
6 คน มีสถานการณ์สื่อสารที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 60 สถานการณ์


ผลการศึกษา พบว่า มีคุณลักษณะทางภาษา 4 คุณลักษณะ ได้แก่ คุณลักษณะความแจ่มชัด มีคำบ่งชี้ทางภาษา ได้แก่ การใช้คำแสดงหลักฐานหรือเห็นภาพ การอ้างถึงคุณลักษณะการบังคับ-ชี้นำ ตัวบ่งชี้ทางภาษา คือ กริยาบังคับ กริยาอนุญาต กริยาชี้นำ และประโยคคำสั่ง คุณลักษณะความปิดบังอำพราง มีตัวบ่งชี้ทางภาษา คือ การไม่ระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน อุปลักษณ์ ข้อมูลไม่ครบ ทำเป็นเรื่องเล็ก และคุณลักษณะการโน้มน้าว มีตัวบ่งชี้ทางภาษา คือ คำสรรพนาม การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ และอุปลักษณ์ จากคุณลักษณะทางภาษาแสดงให้เห็นว่าหมอสมุนไพรพื้นบ้านไทยอีสานมีลักษณะน่าเชื่อถือ ทำให้เชื่อได้ง่ายสามารถพึ่งพาได้ และน่าประทับใจ ทำให้หมอสมุนไพรพื้นบ้านมีคุณสมบัติ คือ เป็นผู้มีความรู้มากกว่า เป็นผู้ตัดสิน และเป็นผู้เป็นมิตร คุณสมบัติเหล่านี้ส่งผลให้หมอสมุนไพรพื้นบ้านมีอำนาจทางสังคม อำนาจนี้เป็นอำนาจในลักษณะจงใจชักจูงคนอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Biber, D. (1988). Variation across Speech and Writing. Cambridge: Cambridge university press.
Fairclough, N. (1995). Media Discourse. London: Edward Arnold.
Prasitrathasin, A. (2015). Research project: power language, analysis of language of the law, the language of polity, language of the media, and language of the academic of the society in Thailand. Bangkok: The Thailand Research Fund, Scottish Re. (in Thai).
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2558). รายงานวิจัยโครงการภาษาอำนาจ : การวิเคราะห์วัจลีลา ของภาษากฎหมาย ภาษาการเมือง ภาษาสื่อ และ ภาษาวิชาการของสังคมไทย.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว.
Wongbiasajja, S. (2004). The picture story book for children of Thailand awarded: literature and discourse analysis: research reports. Chiang Mai: Chiang Mai University Faculty of Humanities. (in Thai).
สรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์ และคณะ. (2547). หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กของไทยที่ได้รับรางวัล: การวิเคราะห์เชิงวรรณกรรมและวาทกรรม, เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.