การพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัย (ผักและไม้ผล) แบบมีส่วนร่วมของชุมชนใน จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

สุกัญญา พยุงสิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัย (ผักและผลไม้) แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดลพบุรี 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการสินค้าเกษตรปลอดภัย (ผักและผลไม้) ในจังหวัดลพบุรีและ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัย (ผักและผลไม้) ในจังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เกษตรกรแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยด้านพืชจดทะเบียนกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรีและอยู่ในเขตพื้นที่ชลประทานจำนวน 210 คน และผู้มีส่วนได้เสียทั้งในภาครัฐและเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย (Descriptive Statistics) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า


1.    สภาพปัจจุบันของตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัย(ผักและผลไม้) แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดลพบุรี พบว่าผลผลิตที่ได้จะถูกจัดจำหน่ายโดยเกษตรกรผู้ปลูกเอง โดยเกษตรกรส่วนใหญ่นั้นไม่มุ่งเน้นในการนำไปขายในตลาดรวม เนื่องจากเสียเวลาในการขนส่งและสินค้ามีความไม่สม่ำเสมอจึงเน้นความสะดวกสบายในการขาย แต่ยังมีเกษตรกรบางส่วนยังคงมีความต้องการตลาดเฉพาะเจาะจงที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลสำหรับการเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าแต่ยังคงต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ เช่นการตัดสินใจ การดำเนินงาน การรับผลประโยชน์ หรือการประเมินผลของตลาด


2.    การมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการสินค้าเกษตรปลอดภัย (ผักและผลไม้) ในจังหวัดลพบุรี โดยระดับการมีส่วนร่วมในด้านภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.43, S.D. = 0.25)โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (gif.latex?\bar{X} = 3.82, S.D. = 0.53) ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน (gif.latex?\bar{X} = 3.40, S.D. = 0.45) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (gif.latex?\bar{X} = 3.32, S.D. = 0.45) และด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนตัดสินใจ (gif.latex?\bar{X}  = 3.17, S.D. = 0.40)


3.    แนวทางการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัย (ผักและผลไม้) แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดลพบุรี พบว่า ดังนี้ ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกเกี่ยวกับการผลิตผักและผลไม้เพื่อให้ได้คุณภาพมีความปลอดภัย และมีการวางแผนผลิตร่วมกันระหว่างสมาชิก เพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอให้การสนับสนุน และให้คำปรึกษาในการดำเนินธุรกิจผักและผลไม้ปลอดภัย ส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างเกษตรกร ภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมีการสร้างกลุ่มสมาชิกเพื่อการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยเพื่อไว้ให้คำแนะนำในการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวผักและผลไม้ให้ถูกวิธี รวมไปถึงการได้รับการสนับสนุนปัจจัยในการผลิตผักผลไม้ปลอดภัย เช่น น้ำส้มควันไม้ และสถานที่ในการจัดจำหน่ายด้วยการจัดโซนนิ่งผลิตภัณฑ์เพื่อให้สะดวกแก่การซื้อสินค้าของผู้บริโภค สร้างจุดรับซื้อผักและผลไม้ในพื้นที่เพื่อช่วยลด ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และส่งเสริมการสร้างตราสินค้าเพื่อให้เกิดการยอมรับโดยการใช้ตรามาตรฐานเดียวกันทั้งจังหวัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amornpan Munee. (2016, June 3). Head of Agricultural Extension and Development. Lop Buri Provincial Agricultural Extension Office, Lop Buri Province. Interview. (In Thai).

อมรพรรณ มุนนี. (2559,มิถุนายน 3). หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร.สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี จังหวัดลพบุรี. สัมภาษณ์.

Department of Agriculture Extension. (2014). Project Work Manual in the Budget Year 2014. Retrieved January 10, 2015, from http://www.farmdev.doae.go.th/data/4h/2014/คู่มือการปฏิบัติงานโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. pdf. (In Thai).

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2557). คู่มือการปฏิบัติงานโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2559, จาก http://www.farmdev.doae.go.th/data/4h/2014/คู่มือการปฏิบัติงานโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557.pdf.

Kaomthongcharoen, K. (2011). Model of organic Agriculture Group Management:A case study of group Produces of Bio-Organic Fertilizer in Ban Doge Dang, Doi Saket District, Chiang Mai Province. Chiang Mai Faculty of Business Administration, MaeJo University. (In Thai).

กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ. (2554). รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่เข้มแข็ง กรณีศึกษากลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบ้านดอกแดง อำเภอดอยสะเก็ต จังหวัดเชียงใหม่ : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Taien Layraman. (2015). Management of the Organic Vegetable Growers Group of Nong Pa Khrang Community, Muang District, Chiang Mai Province. Journal of Community Development and Life Quality, 3(3), pp. 309-318. (In Thai).

เทียน เลรามัญ. (2558). การบริหารจัดการกลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอ เมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 3(3), 309-318.

Wongviraj, K. (2011). A Study of Model of Organic Agriculture Farmer Group Management in Ban Cham, Moo 6, Pang Yang Khok Sub-district, Hang Chat District, Lampang Provicne. Lampang: The Thailand Research Fund. (In Thai).

ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2554). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพเกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษบ้านจำ หมู่ที 6 ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. ลำปาง: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).