การส่งเสริมการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของประชาชน ในจังหวัดนครนายก

Main Article Content

นิศานาถ มั่งศิริ
ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการส่งเสริมการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของประชาชนในจังหวัดนครนายก โดยใช้การศึกษาเชิงปริมาณและการศึกษาเชิงคุณภาพ ส่วนที่ 1 การศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาทักษะทางการเงินของประชาชนในจังหวัดนครนายก และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลทักษะทางการเงินกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าครัวเรือนในจังหวัดนครนายก จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis หรือ CFA) ส่วนที่ 2 การศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 กับแผนพัฒนาจังหวัดของนครนายก (พ.ศ. 2557–2560) ในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเพื่อจัดทำแผนการส่งเสริมการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของประชาชนในจังหวัดนครนายก มีผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้รู้หลักเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการการเงินในระดับจุลภาค ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มตัวแทนของคนในชุมชน กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มบุคลากรภาครัฐ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า หัวหน้าครัวเรือนในจังหวัดนครนายก ส่วนใหญ่ได้รับความรู้ทางการเงินในเรื่องการออมในระดับมากที่สุด ด้านทัศนคติและพฤติกรรมการออมเงินอยู่ในระดับมาก มีสถานการณ์ออมน้อยกว่ารายจ่าย การเข้าถึงการบริการทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปร สังเกตได้ในโมเดลการวัดทักษะการเงิน ประกอบด้วย ความรู้ทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงิน และทัศนคติทางการเงิน พบว่าทุกองค์ประกอบมีค่าน้ำหนักเป็นบวกขนาดตั้งแต่ 0.98 ถึง 0.99 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) ส่วนผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนฯ พบว่ามีความสอดคล้องเพียงหนึ่งยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนาของจังหวัดที่ผ่านมายังขาดโครงการด้านทักษะทางการเงิน ดังนั้นเพื่อให้บรรลุตามยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ของจังหวัดนครนายก จึงเสนอแผน 4 ด้าน คือ 1) ด้านการสร้างวินัยทางการเงินแก่ภาคครัวเรือน 2) ด้านการสร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการวางแผนการเงินส่วนบุคคลและการลงทุน 3) ด้านการส่งเสริมทัศนคติและแรงบันดาลใจให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงิน 4) ด้านการจัดตั้งศูนย์ความรู้และให้คำปรึกษาทางการเงินเพื่อเป็นข้อเสนอแนะให้กับจังหวัดนครนายกสำหรับการกำหนดแนวทางของแผนพัฒนาจังหวัดต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Abubakar, H. A. (2015). Entrepreneurship development and financial literacy in Africa. World Journal of Entrepreneurship, Management and Sustainable Development, 11(4), 281-294.

Bank of Thailand. (2016). Thai Financial Skills Survey Report 2016. Retrieved August 10, 2017 from https://www.1213.or.th/th/aboutfcc/knownfcc/Documents/ThaiFLsurvey59.pdf. (In Thai).

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). รายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2559. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560, จาก https://www.1213.or.th/th/AbouTFcc/knownfcc/Documents/ThaiFLsurvey59.pdf.

Financial Services User Protection Center Bank of Thailand. (2013). Thai Financial Skills Survey Report 2013. Retrieved February 25, 2016 from https://www.1213.or.th/th/aboutfcc/knownfcc/Documents/2013%20ThaiFLSurvey.pdf. (In Thai).

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). รายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2556. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://www.1213.or.th/th/aboutfcc/knownfcc/Documents/2013%20ThaiFLSurvey.pdf

Kasikorn Research Center. (2016). Household Debt. Retrieved March 31, 2016 from http://www.thansettakij.com/content/41799. (In Thai)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). หนี้ครัวเรือน. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559, จาก http://www.thansettakij.com/content/41799

Kapoor, J.R., Dlabay, L.R., Hughes, R., & Hart, R.J. (2017). Personal Finance. McGraw-Hill Education. United States of America.

Nakhon Nayok Provincial Labor Office. (2016). Nakhon Nayok province's labor situation report (AC) 1st quarter of 2016 (January - March). Retrieved August 10, 2016 from http://nakhonnayok.mol.go.th/sites/nakhonnayok.mol.go.th/files/raayyngaansthaankaarn_aitrmaas_1.59.pdf. (In Thai).

สำนักงานแรงงานจังหวัดนครนายก. (2559). รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดนครนายกรองรับประชาคมอาเซียน (AC) ไตรมาส 1 ปี 2559 (เดือนมกราคม – มีนาคม). สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2559, จาก http://nakhonnayok.mol.go.th/sites/nakhonnayok.mol.go.th/files/raayyngaansthaankaarn_aitrmaas_1.59.pdf

National Statistical Office. (2014). Land Development Plan Nakhon Nayok Province. Retrieved August 10, 2016 from http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file%20Download/Plan%20Development%20Statistical%20Province/12.นครนายก.pdf. (In Thai).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). แผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ จังหวัดนครนายก. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2559, จาก http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/Userfiles/file%20Download/Plan%20Development%20Statistical%20Province/12.นครนายก.pdf.

Nga, J. K., Yong, L. H., & Sellappan, R. D. (2010). A study of financial awareness among youths. Young Consumers, 11(4), 277-290.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2012). Retrieved August 10, 2015 from http://www.nesdb.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf. (In Thai).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2558, จาก http://www.nesdb.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf

OECD. (2015). 2015 OECD/INFE Toolkit for Measuring Financial Literacy and Financial Inclusion. Organization for Economic Co-operation and Development, France, retrieved from https://www.oecd.org/daf/fin/Financialeducation/2015_OECD_INFE_Toolkit_Measuring_Financial_Literacy.pdf

Provincial Development Strategy Division, Nakhon Nayok Provincial Office. (2016). Nakhon Nayok Province Development Plan 4 years (2014-2017). Retrieved August 15, 2017 from http://www.nakhonnayok.go.th/home/webboard/index.php?topic=57.0 (In Thai).

สำนักงานจังหวัดนครนายก. กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด. (2559).แผนพัฒนาจังหวัดนครนายก 4 ปี (พ.ศ. 2557-2560). สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2560, จากhttp://www.nakhonnayok.go.th/home/webboard/index.php?topic=57.0

Sayktrakul, K. (2010). Personal Financial Planning: When the People Are Rich The nation is secure. Retrieved August 15, 2017 fromhttps://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/TSIArticle_PF_035.pdf. (In Thai)

กฤษฎา เสกตระกูล. (2553). การวางแผนการเงินส่วนบุคคล: เมื่อประชาชนมั่งคั่ง ประเทศชาติก็มั่นคง. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2560, จาก https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/TSI-Article_PF_035.pdf

Sanguanpan, S. (2015). Bankers’ Talk Household Debt. Strategic Financial Institutions Monetary policy. Retrieved August 10, 2017 from https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Highlights/ASEANCommunity/BankersTalk/Vol3Issue1.pdf. (In Thai).

สุกฤตา สงวนพันธุ์. (2558). Bankers’ Talk Household Debt. ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายการเงิน. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560, จาก https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Highlights/ASEANCommunity/BankersTalk/Vol3Issue1.pdf

Tang, N., & Peter, P. C. (2015). Financial knowledge acquisition among the young: The role of financial education, financial experience, and parents' financial experience. Financial Services Review, 24(2), 119-137.