ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวกกับการทำงานอาสาสมัคร ของอาสาสมัครสตรี ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ธนพัทธ์ จันท์พิพัฒน์พงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวกกับการทำงานอาสาสมัครของกลุ่มอาสาสมัครสตรี (อสม.) จำนวน 123 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่มีลักษณะเป็นมาตรประเมินรวมค่าที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 718 ถึง 869 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบนำตัวแปรเข้าทั้งหมด ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวก ได้แก่ การมองโลกในแง่ดี ความหวัง ความหยุ่นตัว และการรับรู้ความสามารถแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการทำงานอาสาสมัครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.232, .221, .200, .413, p<.01) และสามารถทำนายการทำงานอาสาสมัครได้ร้อยละ 18.80 โดยมีการรับรู้ความสามารถแห่งตน เป็นตัวแปรทำนายสำคัญ (β=.489, p<.01) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่จะนำไปสู่การวิจัยและพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Arin, N. (2012). The study of antecedents and consequences of psychological capital affecting psychological outcomes and work performance under adverse situation of public health officers in southern border provinces. Doctoral dissertation in Applied Behavioral Science Research, Srinakharinwirot University. (in Thai).

ณัฐวุฒิ อรินทร์. (2555). การศึกษาปัจจัยเชิงเหตุและผลของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกที่มีต่อสุขภาวะทางจิตและพฤติกรรมการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดชายแดนใต้. ปริญญานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentic-Hall, Inc.

Dangsanit, W. (2013). A causal relationship between positive psychological capital and job satisfaction of teacher with work engagement as the mediator: Model invariance testing. Master thesis in Education Research Methodology, Chulalongkorn University. (in Thai).

วรัญญา แดงสนิท. (2556). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโดยมีความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน: การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Intarakamhang, U. (2015). Readiness preparation to volunteer working and causal relationship model development to self-wellness management related to volunteer working of university staff, 22(2), 104-119. (in Thai).

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2559). การเตรียมความพร้อมสู่การทำงานอาสาสมัครและพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการสุขภาวะตนเองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอาสาของบุคลากรมหาวิทยาลัย, 22(2), 104-119.

Janwan, B. et. al. (2014). Village health volunteers’ self efficacy on the participation in elderly health promotion programs according to health regulation in municipality of Pathumtani province. Vajira Nursing Journal, 17(1), 86-99. (in Thai).

เบญจมาศ จันทร์วัน และคณะ. (2558). การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามสุขบัญญัติของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี. วชิรสารการพยาบาล, 17(1), 86-99.

Poojenapan, P. (2017). Woman role creating political equity and volunteering work in social development. Journal of Graduate Volunteer Centre, 14(1), 163-203. (in Thai).

ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์. (2560). บทบาทผู้หญิงในการสร้างความเสมอภาคทางการเมืองและงานอาสาสมัครพัฒนาสังคม. วารสารบัณฑิตอาสาสมัคร. 14(1), 163-203.

Seangdoung, N. (2017). Volunteering and causal relationship model of volunteering behavior and the retention of volunteer work among public university staff. Doctoral dissertation in Applied Behavioral Science Research, Srinakharinwirot University. (in Thai).

นิพิฐพนธ์ แสงด้วง. (2560). เส้นทางการทำงานอาสา และรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมอาสา ที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในการทำงานอาสา ของบุคลากรมหาวิทยาลัยภาครัฐ. ปริญญานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Tuntivivat, S. (2016). Positive psychology: Development, applications and challenges. Journal of Behavioral Science for Development, 9(1), 277-290. (in Thai).

สุดารัตน์ ตันติวิวัทน์. (2560). จิตวิทยาเชิงบวก: การพัฒนา การประยุกต์ และความท้าทาย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 9(1), 277-290.

Tepsitta, S. (2001). Volunteering ideology and Volunteering development. Bangkok: Ministry of Labour and Welfare. (in Thai).

สมพร เทพสิทธา. (2544). อุดมการณ์อาสาสมัครและการพัฒนางานอาสาสมัคร. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.

Wongton, S. (2011). Relationship between psychological capital, organization commitment and work performance: a case study of a commercial bank. Master’s thesis in Industry and Organization Psychology, Thammasat University. (in Thai).

สิริพร วงษ์โทน. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาด้านบวก ความผูกพันต่อองค์การและผลการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษาธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. การวิจัยส่วนบุคคลปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.