รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพของแม่ที่ดูแลบุตรที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย

Main Article Content

Suksiri Prasomsuk
Naampitch Thamhiweth
Chaiya Noradechanunt
Ekkachai Monlet

บทคัดย่อ

          ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่มีความผิดปกติจากยีนของเม็ดเลือดแดงซึ่งมีผลกระทบต่อครอบครัว เด็กและระบบสาธารณสุข การศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแก่มารดาที่ดูแลบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการให้ความรู้โรคธาลัสซีเมีย แก่มารดาที่ดูแลบุตรที่เป็นโรคธาลัสซีเมียจำนวน 15 คน ที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดอุดรธานี โดยการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสะท้อนคิดและสนทนากลุ่ม โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและสาระสำคัญผลการศึกษาพบว่า มารดายังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย ผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การรักษา และการวินิจฉัยโรครวมทั้งให้การสนับสนุนด้านจิตใจ ผลการวิจัยภายหลัง 12 เดือน พบว่า ระดับคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ สูงกว่าก่อนทดลอง ระดับความเครียดลดลงและระดับคุณภาพชีวิตดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งนี้ประเด็นหลักควรที่จะมีการเสริมสร้างพลังอำนาจและเผยแพร่ความรู้เรื่องธาลัสซีเมีย แก่มารดาต่อไปเพื่อให้เกิดความผาสุกในการดูแลบุตรที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย และการนำรูปแบบนี้อาจจะนำไปประยุกต์ใช้แก่กลุ่มผู้ป่วยอื่น ๆ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Fucharoen, S. et al. (1991). Prenatal diagnosis of Thalassemia and hemoglobinopathies in Thailand: Experiments from 100 pregnancies. Southeast Asian Journal of Tropical Medicine & Public Health, 22(1), 16–29.

Hirunchunha, S. (1998). Development of care model for the caregiver of stokes patients at home. Doctoral dissertation in Nursing, Faculty of Graduate Studies, Mahidol University. (in Thai)

สุดศิริ หิรัญชุณหะ. (2541). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้ดูแลผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมอง. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกสาขาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Holden, E. W. et al. (1997). Controlling for general and disease-specific effects in child and family adjustment to chronic childhood illness. J Pediatr Psychol, 22: 13-27.

McTaggart, R. (1991). Principles of participatory action research. Adult Education Quarterly, 41(3), 168-187.

Meissen, G. J., & Warren, M. L. (1993). The self-help clearinghouse: A new development in action research for community psychology. Journal of Applied Behavioral Science, 29(4), 446-463.

Naidoo, J., & Willis, J. (1994). Health promotion foundation for practice. London: Bailliere Tindall.

Panich, V., Pornpatkul, M., & Sriroongrueng, W. (1992). The problem of thalassemia in Thailand. Southeast Asian Journal of Tropical Medicine & Public Health, 23(1), 1-6.

Prasomsuk, S., Jetsrisuparp, A., Ratanasisi, T., & Ratanasiri, A. (2007). Lived Experiences of Mothers Caring for Children With Thalassemia Major in Thailand. JSPN, 12(1), 13- 23.

Powell (Ed). Understanding the self-help organization: Frameworks and findings. California: Sage publication.

Renwick, R., Brown, I., & Nagler, M. (1996). Quality of life in health promotion and rehabilitation: Conceptual approaches, and application. Thousand Oaks, CA: Sage.

Rifkin, S. B. (1990). Community participation in maternal and child health/family planning programmes: an analysis based on case study materials. Geneva: World Health Organization.

Rockhill, V. A. (1992). Family background and Personality factors influencing Health related attitudes and behaviors toward medical treatment. Ph.D. Thesis, Faculty of Health Sciences, University of Rhode Island.

Sarafino, E. (1998). Health psychology: Bio- psychosocial interaction. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons.

Subgranon, R., & Lund, D.A.(2002). Maintaining caregiving at home: A culturally sensitive grounded theory of providing care in Thailand. Journal of Transcultural. Nursing, 11(3), 166-173.

Tedsiri, C. (1994). Buddist and Psychological characteristics of parents as related to child care illness in Thalassemic children. Master’s thesis in Behaviral Science, Institute of Behavior science Research, Srinakarin Taravirot University. (in Thai)

ชุติมา เทศศิริ (2537). ลักษณะพุทธศาสนาและจิตลักษณ์ของบิดา มารดาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลบุตรเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรคธาลัสซีเมีย. วิทยานิพนธ์วิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Street, A. (1997). The Participatory Action Research Process for Clinical Nurses. Unpublished manuscript.

Wattana C. (1997). Model development for participatory caring relationship between nurses and patients to enhance self - care abilities in Kanghangmaew Hospital Amphoe Kanghangmaew Changwat Chantaburi. Master’s thesis in Nursing, Faculty of Graduate Studies, Mahidol University. (in Thai)

ชดช้อย วัตนะ (2540). การพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างมีส่วนร่วมระหว่างพยาบาลและผู้รับบริการในการส่งเสริมการดูแลตนเอง โรงพยาบาลแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.