การวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการวิจัย

Main Article Content

ชัชจริยา ใบลี

บทคัดย่อ

การวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยทางการศึกษา หรือทางสังคมศาสตร์ สามารถดำเนินการวิจัยได้หลากหลายวิธี ทั้งกรณีการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงประยุกต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปรัชญาและแนวคิดในการศึกษาหาความจริง โดยมีวิธีวิจัยเป็นที่ยอมรับในระดับบัณฑิตศึกษา 2 แนวความคิด คือ แนวคิด ปฏิฐานนิยม แนวคิดนี้เชื่อในการค้นพบความจริงของปรากฏการณ์ที่สามารถจับต้อง แจงนับ วัดค่าได้ หรือเป็นแบบนิรนัย เป็นที่มาของระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ อาทิเช่น การพัฒนา ตัวบ่งชี้ และการสร้างโมเดลสมการโครงสร้าง ทั้งนี้ แนวคิดแบบปรากฏการณ์นิยม เชื่อว่าการวิจัยที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถอธิบายงานวิจัยเชิงสังคมศาสตร์ในบางเรื่องได้ ดังนั้น วิธีการแสวงหาความรู้ หรือความจริงจึงเป็นการใช้เหตุผลแบบอุปนัย แนวคิดนี้เป็นที่มาของระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ อาทิเช่น การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา การวิจัยปรากฏการณ์วิทยา การศึกษาเฉพาะกรณี การวิจัยทฤษฎีฐานราก และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเชิงประยุกต์ อาทิเช่น การวิจัยเชิงนโยบาย วิจัย อนาคต การวิจัยและพัฒนา การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงประเมิน เป็นต้น ซึ่งอาจใช้วิธีการวิจัยแบบผสม

Article Details

บท
บทความวิชาการและบทความปริทัศน์

References

จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2548). ปฏิบัติการวิจัยอนาคตด้วย EDFR. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(2), 19-20.
Phulp̣hạtharachiwin, J. (2005). Future research with EDFR. Journal of Educational Administration Khon Kaen University, 1(2), 19-20. (in Thai).

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
Phothisita, C. (2007). Science and Art of Qualitative Research. 3rd ed. Bangkok: Amarin Printing & Publishing Public (Company Limited). (in Thai).

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องคความรูเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรูที่มีประสิทธิภาพ. พิมพครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ดานสุทธาการพิมพ.
Khaemmanee, T. (2007). Teaching Science: Knowledge for Organizing Effective Learning Processes. 6th ed. Bangkok: Dansuttha karnphim. (in Thai).

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2548). แนวโน้มการวิจัยในยุคสังคมความรู้. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(2), 16-17.
Wiratchai, N. (2005). Research trends in the knowledge society era. Journal of Educational Administration Khon Kaen University, 1(2), 16-17. (in Thai).

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551). การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมิน ใน การประชุมวิชาการเปิดขอบฟ้าคุณธรรมจริยธรรม. วันที่ 29 สิงหาคม 2551. โรงแรมแอมบาสเดอร์.
Wiratchai, N. (2008). Development of assessment indicators in Meeting of Open Academic Conference in Horizon of Ethics. 29 August 2008. Ambassador Hotel. (in Thai).

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2), 7-15, 23-24.
Buonson, R. (2013). CIPP and CIPPIEST evaluation models: Mistaken and precise concepts of applications. Journal of Silpakorn Education Research, 5(2), 7-15, 23-24. (in Thai).

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา: แนวคิดและกรณีศึกษา.ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
Sanrattana, W. (2010). Educational Administration Research: Concepts and Case Studies. Khon Kaen: Khlạng NaNa Withaya. (in Thai).

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). การวิจัยและพัฒนาการศึกษาไทย Research and Development for Thai Education. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2) 10-12.
Kanchanawasi, S. (2016). Research and development for Thai education. Journal of Silpakorn Education Research, 8(2), 10-12. (in Thai).

สุนีย์ ประสงค์บัณฑิต. (2553). แนวความคิดฮาบิทัสของปิแอร์ บูร์ดิเยอ กับทฤษฎีทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
Prasongbundit, S. (2010). Pierre Burdier's Habitus Concept with Anthropological Theories. Bangkok: Sirindhorn Anthropology Center. (in Thai).

Bogdan, R. C., & Biklen, S. K. (2003). Qualitative Research for Education: An Introduction To Theories and Methods. 4th ed. New York: Pearson Education group.

Corbin, J., & Strauss, A. (1990). Grounded Theory Research: Procedures, Canons, and Evaluative Criteria. Qualitative Sociology, 13(1), 3-21.

Dukeshire, S., & Thurlow, J. (2002). Understanding the Link between Research and Policy. Halifax, NS: Rural communities impacting policy project, Atlantic Health Promotion Research Centre, Dalhousie University.

Glaser, B., & Strauss, A. (2006). The Discovery of Grounded Theory Strategies for Qualitative Research. New Brunswick (U.S.A.): A Division of Transaction Publishers.

Glaser, B., & Strauss, A. (2006). The Discovery of Grounded Theory: Strategies for Qualitative Research. Chicago: Aldine.

Houser, J. (2008). Nursing Research: Reading, Using, and Creating Evidence. Boston: Jones and Bartlett Publishers.

Johnson, A. P. (2008). A Short Guide to Action Research. 3rd ed. Boston: Pearson Education.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. 3rd ed. Victoria: Deakin University.

Lewin, K. (1997). Resolving Social Conflicts and Field Theory in Social Science. New York: Amer Psychological Assn.

Majchrzak, A. (1984). Methods for Policy Research: Applied Social Research Methods. California: SAGE Publications.

Moustakas, C. (1994). Phenomenological Research Methods. Thousand Oaks, CA: Sage.

Stake, R. E. (2006). Multiple Case Study Analysis. New York: Guildford.

West, L. H., & Pines, A. L. (1985). Cognitive Structure and Conceptual Change. Sydney: Academic Press.