เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาตีพิมพ์บทความ

            1.  ผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่เคยผ่านการเผยแพร่ที่ใดมาก่อน

            2.  ผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจาณาของวารสารอื่น

           3.  ผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ต้องเป็นบทความที่มีคุณค่าทางวิชาการ เกิดขึ้นจากผู้เขียนได้ทำการทดลอง สร้างสรรค์ สังเคราะห์ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานโดยตรง หรือเป็นบทความที่เสนอถึงความคิด หรือหลักการใหม่ที่เป็นไปได้และมีทฤษฎีสนับสนุนอย่างเพียงพอ มีประโยชน์ต่อการศึกษาและการวิจัย

            4.  ผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่ได้ลอกเลียนหรือตัดทอนมาจากผลงานวิจัยของผู้อื่น หรือจากบทความอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือปราศจากการอ้างอิงที่ถูกต้อง

            5.  ผู้เขียนต้องจัดเตรียมต้นฉบับตามรูปแบบตามข้อกำหนดในการส่งต้นฉบับอย่างเคร่งครัด

            6.  ผู้เขียนได้แก้ไขความถูกต้องของบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว

            7.  บทความจะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากกองบรรณาธิการและการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะศาสตร์บทความละ 3 ท่าน

 

การเตรียมต้นฉบับ

                 ทางกองบรรณาธิการยินดีรับตีพิมพ์ผลงานวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 15 พอยต์ พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ตัวอักษรสีดำ พิมพ์ในกระดาษขาว ขนาดมาตรฐาน B5 และไม่มีเส้นบรรทัด การตั้งค่าหน้ากระดาษ เว้นขอบบนและขอบซ้าย 3.00 ซม. ขอบล่างและขอบขวา 2.00 ซม. บทความวิชาการ และบทความวิจัย มีความยาว 15 - 20 หน้า ส่วนบทความปริทัศน์ ความยาว 10 - 20 หน้า ยกเว้นบทวิจารณ์หนังสือ ความยาว 5 - 15 หน้า และใช้ระบบการอ้างอิง APA

  

องค์ประกอบของผลงาน

             1. บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์ คือ งานเขียนที่มีความน่าสนใจ มีความรู้ใหม่ โดยส่วนประกอบของผลงานมีดังต่อไปนี้

                 1.1   ชื่อเรื่อง กรณีเป็นบทความภาษาไทย ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                 1.2   ชื่อผู้เขียนบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และหน่วยงานที่สังกัด

                 1.3   บทคัดย่อ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 250-300 คำ

                 1.4   คำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 5 คำ

                 1.5   เนื้อหาในบทความ แบ่งออกเป็น บทนำ บทสรุป ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง                

             2. บทความวิจัย คือ งานเขียนที่นำเสนอผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ โดยส่วนประกอบของผลงานมีดังต่อไปนี้

                 2.1   ชื่อเรื่อง กรณีเป็นบทความภาษาไทย ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                 2.2   ชื่อผู้เขียนบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และหน่วยงานที่สังกัด

                 2.3   บทคัดย่อ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 250-300 คำ

                 2.4   คำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 5 คำ

                 2.5   เนื้อหาบทความวิจัย แบ่งออกเป็น บทนำ วัตถุประสงค์การวิจัย สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี) วิธีดำเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัย การอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง

             3. บทวิจารณ์หนังสือ คือ งานเขียนที่ถ่ายทอดความคิดเห็น โดยนำเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นความรู้ ต้องใช้หลักวิชาที่เหมาะสมเพื่อวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นถึงข้อดี ข้อไม่ดี โดยชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของหนังสือที่จะวิจารณ์ และเสนอแนวทางแก้ไข โดยผลงานจะต้องมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

                 3.1   ชื่อเรื่องบทวิจารณ์หนังสือ                 

                     3.2   ชื่อผู้เขียนบทความ ทั้วภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และหน่วยงานที่สังกัด

                   3.3        บทวิจารณ์หนังสือ แบ่งออกเป็น บทนำหรือประเด็นที่จะวิจารณ์เนื้อหา บทสรุป ข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ และเอกสารอ้างอิง