ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและปัจจัยการบริหารจัดการเพื่อการดำรงอยู่ ของสถานศึกษาสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย

Main Article Content

ยุพิน ชัยราชา
มนัส สุวรรณ
สมาน ฟูแสง
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทสถานศึกษาและระดับความสำคัญของปัจจัยในการบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยที่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้ 2) กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและปัจจัยการบริหารจัดการ และ 3) ตรวจสอบคุณภาพของยุทธศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโรงเรียน 11 โรง จำนวน 355 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสอบถาม และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติพรรณนา และ SWOT Analysis ผลการศึกษาพบว่า 1) บริบทโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ก่อตั้งโดยมิชชันนารี เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน 100 กว่าปี มีจุดเด่นในด้านการปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และด้านภาษาอังกฤษ และระดับความสำคัญของปัจจัยในการบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยมากที่สุด 3 ลำดับได้แก่ เศรษฐกิจ รองลงมาคือสภาพแวดล้อม และเทคโนโลยี ตามลำดับ 2) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและปัจจัยการบริหารจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของสถานศึกษาสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย มี 4 ยุทธศาสตร์คือ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารงานวิชาการ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารงานบุคคล ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารงบประมาณ และยุทธศาสตร์ด้านการบริหารทั่วไป ประกอบด้วยกลยุทธ์ทั้งหมด 24 กลยุทธ์ และ 3) คุณภาพของยุทธศาสตร์มีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bass, B. M. (1997). Does the Transactional-Transformational Leadership Paradigm Transcend Organizational and National Boundaries, American Psychologist, 52(2), pp. 130-139.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1997). Improving Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership. USA: SAGE Publications.

Boonyatittan, A. (2010). Professional SWOT Analysis Guide The starting point for a strategy that does not work. Bangkok: Triple Group. (in Thai).

เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ จุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ที่ไม่ทำไม่ได้. กรุงเทพฯ: Punyachon.

Cheablam, B. (2016). Crisis of Thai Private Schools Reflection at the Ministry of Education must to listen. Retrieved February 12, 2016, from http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1420172401. (in Thai).

บำรุง เฉียบแหลม. (2558, 9-15 มกราคม). วิกฤต 'ร.ร.เอกชนไทย' 'เสียง'...สะท้อนที่

ศธ.ต้องฟัง!!. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.matichon. co.th/news_ detail.php?newsid=1420172401.

Covey, S. R. (2006). Servant Leadership. Leadership Excellence, 23(12), Retrieved, from ABI/INFORM Global database. (Document ID: 1190701391).

Hitt, M. A., Ireland, R. D., & Hoskisson, R. E. (2007). Strategic Management: Competitiveness And Globalization. 7th ed. Ohio: Thomson/South Western.

Kotler P. (2017). Marketing 4.0 to Digital Marketing. Bankok: Nation Books.

Kotler P. (2560). Marketing 4.0 สู่ยุคการตลาดดิจิทัล. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.

Maxwell, J. C. (2003). Ethics 101: What every leader needs to know. New York: Time Warner Book Group.

Ministry of Education Office of the Permanent Secretary for Education. (2016). Education Development Plan The Ministry of Education No. 12 (2017-2021). Bureau of Policy and Strategy: Bangkok. (in Thai).

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์: กรุงเทพฯ.

Ministry of Education Office of the Permanent Secretary for Education. (2017). National Education Plan (2017-2036). Bangkok. (in Thai).

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.

Oonla-or, C. (2010). The Development of Transformational Leadership Indicators of Private University in Thailand. Doctor of Education Thesis in Educational Adnstration, Graduate School. Khon Kaen University. (in Thai).

ชีวิน อ่อนลออ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Pearce, J. A., & Robinson, R. B. (2007). Formulation, Implementation and Control of Competitive Strategy. 9th ed. Boston: McGraw-Hill.

Pongsriwat, S. (2007). Leadership: Theory and Practice. Bangkok: Booklinks. (in Thai).

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บุคส์ลิงค์.

Pratuangboriboon, P. (2017). Koh-Kha Model: The Strategy for Balanced Local Administration in the Twenty-First Century. Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities, 7(12), 15-28. (in Thai).

ณัฏฐ์ดนัย ประเทืองบริบูรณ์. (2560). เกาะคาโมเดล: ยุทธศาสตร์การบริหารท้องถิ่นอย่างสมดุลในศตวรรษที่21. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 7(12), 15-28.

Sarattana W. (2004). Leadership: from theory to proposition, curriculum development model. Journal of the Faculty of Education Khonkaen University, 27(3), 40 – 52. (in Thai).

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2547). ภาวะผู้นำ: จากทฤษฎีสู่ข้อเสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 27(3), 40 – 52.

Spears, L. C. (Ed.). (1998). Insights on Leadership: Service, Stewardship, Spirit, and Servant leadership. New York: John Wiley & Sons.

Spears, L. C. (2003). The Understanding and Practice of Servant-leadership. In Spears L.C. & Sunal, D.W. & Sunal, C. S. Science in the Elementary and Middle School. New Jersey: Merrill Prentice Hall.

Spears, L. & Lawrence, M. (2002). Focus on leadership: Servant-leadership for the twenty-first Century. New York: John Wiley 7 Sons.

Suwanratchapoo, K. (2013). Strategic Leadership: A form of new generation leaders. Doctor of Education Thesis in Education Administration, The Faculty of Graduate Studies, Srinakharinwirot University. (in Thai).

กัณฑ์กณัฐ สุวรรณรัชภูม์. (2556). ภาวะผู้นำกลยุทธ์: รูปแบบของผู้นำยุคใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Thammaruk, T. (2013). Development of Strategic Leadership Model of School Administrators Under The Office of The Basic Education Commission. Journal of Education and Social Development, 9(2). 58-70. (in Thai).

ธนภณ ธรรมรักษ์. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 9(2). 58-70.

Thepprasit, P. (2013). The Strategic Leadership and the Success of Organization Management. Journal and Research, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, Special Issue, 21-26. (in Thai).

ปุญญภณ เทพประสิทธิ์. (2556). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, ฉบับพิเศษ, 21-26.

Upradit, A. (2017). Effect of Perceived Environmental, Transformational Leadership and Marketing Orientation toward Financial Performance of Community Enterprises in Lampang Province. Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities, 7(12), 29-46. (in Thai).

อนงค์วรรณ อุประดิษฐ์. (2560). การรับรู้สภาพแวดล้อม ภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการมุ่งเน้นทางการตลาดที่มีผลต่อการดำเนินงานทางการเงินของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 7(12), 29-46.

Wachiramatee, W. (2009). Life satisfaction. Bangkok: Pran Publishing. (in Thai).

ว. วชิรเมธี. (2552). งานสัมฤทธิ์ ชีวิตรื่นรมย์. กรุงเทพฯ: ปราณพับลิชชิ่ง.

Wheelen, T.L., & Hunger, D.J. (2004). Strategic Management and Business Policy. 9th ed. Upper Saddle River, NJ: Peason.

Yawiraj, N. (2015). Organization development and change. Bangkok: Triple Group. (in Thai).

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2558). การพัฒนาองค์การและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.