การพัฒนาการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนเมี่ยน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมนด้วยกระบวนการสอนแบบโฟนิกส์

Main Article Content

เฉลิมพันธ์ แก้วกันทะ
ดารินทร อินทับทิม
อภิญญา ห่านตระกูล
ศุภาวรรณ ปิงใจ
เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต
พูนพงษ์ งามเกษม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ ศึกษาการนำกระบวนการสอนแบบโฟนิกส์ไปใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมน อำเภอปง จังหวัดพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลก่อนและหลังการนำวิธีการสอนแบบโฟนิกส์ไปใช้พัฒนาการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชนเผ่าเมี่ยน โดยดำเนินการทดลองกับประชากร คือ นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบการออกเสียงก่อนเรียนและหลังการเรียนการสอนโดยใช้วิธีโฟนิกส์ และสื่อการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับงานวิจัยนี้ คือ การที่ครูผู้สอนนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าอบรมการสอนแบบโฟนิกส์ไปสอนนักเรียนที่เป็นประชากรและมีการติดตามผลเป็นระยะ เมื่อเสร็จสิ้นการเรียนการสอนในปลายภาคการศึกษา และมีการทดสอบหลังเรียนแล้ว ผู้วิจัยนำผลการทดสอบหลังเรียนและก่อนเรียนมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนการออกเสียงด้วยวิธีโฟนิกส์


ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านออกเสียงและการอ่านคำที่ดีขึ้นหลังจากที่ครูผู้เข้าร่วมวิจัยได้นำวิธีการสอนออกเสียงแบบโฟนิกส์ไปปรับใช้ในชั้นเรียน โดยมีคะแนนทดสอบหลังเรียนที่เพิ่มขึ้น นักเรียนยังมีพัฒนาการที่ดีด้านการสะกดคำ ซึ่งส่วนใหญ่ออกเสียงได้ถูกต้องในเสียงพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้าย แต่พัฒนาการด้านการผสมเสียงยังไม่บรรลุผลเท่าที่ควร งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า วิธีการสอนแบบโฟนิกส์มีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนที่ผู้เรียนมีพื้นฐานภาษาอังกฤษในระดับเริ่มต้นและผู้เรียนที่เป็นพหุภาษา (multilingual) อีกทั้งครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการออกแบบการสอนให้มีความสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยและการพัฒนาควรดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการพัฒนาการออกเสียง รวมถึงพัฒนาการด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจ และพัฒนาการด้านการเขียนของนักเรียน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด และควรมีการถ่ายทอดองค์ความรู้หรือขยายผลไปยังโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอื่น ๆ หรือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อื่น ๆ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จตุพร โดมไพวัลย์. (2555). การเปรียบเทียบระบบคำเรียกญาติในภาษาไทยและภาษาเมี่ยน (เย้า). วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร
Dompriwan, J. (2012). A comparative study of the Thai and Mien (Yao) kinship system. Master Thesis in Thai Language, Graduate School, Silpakorn University. (in Thai)

ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ, วิชาติ บูรณะประเสริฐสุข, เซะอิจิ มะเอะดะ และ ชมนาด คีตสาร. (2550). จากภูฟ้าน่าน สู่ภูฟ้ามหานคร (ไทย-จีน). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Luangthongkum, T., Buranaprasertsuk, W., Maeda, S., & Sithisarn, C. (2007). From Nan to the Metropolis the Phu Fa (Thai-Chineses). Bangkok: Chulalongkorn Univesity. (in Thai)

พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2544). การพูดภาษาอังกฤษตามหลักภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Tuaycharoen, P. (2001). Speaking English according to the Principle of Linguistics. Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai)

พูนพงษ์ งามเกษม, วรวรรธน์ ศรียาภัย, จารุวรรณ เบญจาทิกุล, พรสวรรค์ สุวรรณธาดา, ดารินทร อินทับทิม, จิตติมา กาวีระ และคณะ. (2559). กระบวนการแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมน. รมยสาร. 14(2), 233-241.
Ngamkasem, P., Sriyapai, W., Benchathikun, J., Suwanthada, P., Inthapthim, D., Kavira, J., et al. (2016). The sustainable solution process for illiteracy: A case study of Betty Dumen Border Patrol School. Rommayasan Journal of Humanities and Social Sciences, 14(2), 233-241. (in Thai)

เพ็ญนภา คล้ายสิงโต, ผณินทรา ธีรานนท์, ดารินทร อินทับทิม และ พูนพงษ์ งามเกษม. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการเขียนเชิงวิคราะห์ภาษาไทยผ่านนิทานของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมน. วารสารมนุษยศาสตร์. 24(2). 116-138.
Klaisingto, P., Teeranon, P., Inthapthim, D., & Ngamkasem, P. (2017). A development of Thai pronunciation and critical writing in Betty Domen Patrol Border School by using storytelling. Humanities Journal, 24(2), 116-138. (in Thai)

ศิวกานต์ ปทุมสูติ. (2554). เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว. พิมพ์ครั้งที่ 11. สุพรรณบุรี: ศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรม.
Siwakan Pathummasoot. (2011). Solving Children's Illiteracy is Easy. (11st ed). Supanburi: Thungsak Arsom Learning Center. (in Thai)

Hus, Y. (2001). Early reading for low-SES minority language children: An attempt to ‘catch them before they fall’. Folia Phoniatrica et Logopaedica, 53(3), 173-182.

Learning, J. (n.d.). Teaching Literacy with Jolly Phonics. Retrieved August 10, 2016, from http://jollylearning.co.uk/overview-about-jolly-phonics