พฤติกรรมภาวะผู้นำกับการสร้างความสุขวิถีพุทธในองค์กร

Main Article Content

สามารถ บุญรัตน์

บทคัดย่อ

                   บทความวิชาการฉบับนี้มีความมุ่งหมายการวิเคราะห์และเสนอแนวทางการสร้างความสุขในองค์กรภาครัฐและเอกชนภายใต้บทบาทของภาวะผู้นำ จากการศึกษาพบว่า การสร้างความสุขในองค์กรมีปัจจัยเชิงความสัมพันธ์ที่สำคัญและมีอิทธิพล อย่างมากของภาวะผู้นำในองค์กรรัฐและเอกชน โดยเริ่มต้นจากพฤติกรรมที่เป็นต้นแบบของภาวะผู้นำทำให้บุคลากรมีความรู้สึกผ่อนคลายซึ่งเป็นปัจจัยเชิงสาเหตุส่งผลให้บุคลากรมีความมักคุ้นที่เป็นบรรทัดฐานให้บุคลากรประกอบด้วย 4 แนวทางได้แก่ 1. พฤติกรรมภาวะผู้นำที่จัดสวัสดิการ การให้ธรรม และการให้อภัย (ทาน) 2. พฤติกรรมภาวะผู้นำที่ใช้วาจาในการประสานสามัคคีและให้ความอบอุ่น (ปิยวาจา) 3. พฤติกรรมภาวะผู้นำที่มองเห็นประโยชน์ส่วนรวมมาก่อนประโยชน์ส่วนตน (อัตถจริยา) และ 4. พฤติกรรมภาวะผู้นำที่สามารถถือปฏิบัติตนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย (สมานัตตตา) ดังนั้น ผู้นำองค์กรควรที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การกำหนดเป็นแผนสำหรับการจัดการสวัสดิการในลักษณะต่างๆ แผนการใช้พฤติกรรมทางวาจาเพื่อการความสามัคคี แผนการพัฒนาความเสียสละประโยชน์สุขส่วนตน และแผนการปรับพฤติกรรมของผู้นำทีมให้เป็นแนวราบมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic articles)

References

กวี วงศ์พุฒ. 2545. ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาชีพ บัญชี.

กัลยา โชติธาดา. 2555. การปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุกับการประสานงานของบุคลากรสำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นฤนันท์ สุริยมณี และประเสริฐไชย สุขสอาด. 2555. การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงาน สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารวิทยบริการ. ปีที่ 22. ฉบับที่ 1. (มกราคม-เมษายน 2554).

ปิยะบุตร รักษ์วงษ์. 2557. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูภัทรธรรม. 2554. “คุณการศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี”. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). 2545. ภาวะผู้นำ : ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา,

__________. 2543. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

__________. 2550. ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 80. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์สวย จำกัด,

พระปลัดสมชาย ปโยโค (ดำเนิน). 2558. ผู้นำกับการใช้วาจาในการบริหารงานอย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

พิณญ์บุหงา แสงศรีธรรมะกูล. 2556. ภาวะผู้นําของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รุจา เทพนฤมิตร. 2545. “พฤติกรรมผู้นําของผู้จัดการสาขาตามทัศนะของผู้ใต้บังคับบัญชาศึกษาเฉพาะกรณี : สาขาธนาคารออมสิน ในเขตกรุงเทพมหานคร”. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. 2542. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมลสมัย,

เศรษฐภูมิ เถาชารี วิทยาลัยนานาชาติพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. การบริหารแบบมีส่วนร่วม.
https://thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=224§ion=17&issues=13. 12 กรกฎาคม 2559.

สุเทพ พงศ์ศรี. ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม. https://www.gotoknow.org/posts
/385724. 3 ตุลาคม 2559.

Fred E. Fiedler and Martin M. Chemers. 1974. Leadership and Effective Management. Glenview, III. : Scott, Foresman.

Halpin and Andrew W. 1966. Theory and Research in Administration. New York : macmillan Company, inc.