ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล

Main Article Content

สาวิตรี สิงหาด
สุฬดี กิตติวรเวช
อธิพงศ์ สุริยา

บทคัดย่อ

                การวิจัยเชิงทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนจากการเรียนผ่าน Google Classroom เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาจากการจัดการเรียนการสอนผ่าน Google Classroomโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง คือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล  จำนวน 64 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนรายวิชา  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมติฐานโดยวิธีค่าที (paired samples t-test) ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลหลังเรียนโดยใช้ Google Classroom เป็นเครื่องมือสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ ความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลจากการเรียนโดยใช้ Google Classroom เป็นเครื่องมืออยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2558. เอกสารหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์. 2557. การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 25(3): 19-34.

เพชราวลัย ถิระวณัฐพงศ์, จิรวิญญ์ ดีเจริญชิตพงศ์ และปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม. 2558. การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง การใช้นวัตกรรม Google Apps. for Education สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 1(1): 105-115.

ไพรัชนพ วิริยวรกุลและดวงกมล โพธิ์นาค. 2557. Google Apps for Education นวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 7(3): 103-112.

เยาวลักษณ์ โพธิดารา. 2554. การจัดการศึกษาทางการพยาบาล : สำหรับนักศึกษา Generation Y. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 34(2): 61-69.

วิภาดา คุณาวิกติกุล. 2558. การเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ ในยุคศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร. 42(2): 152-156.

ศันสนีย์ เลี้ยงพานิชย์. 2555. การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจจากการใช้เว็บเครือข่ายสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์. วารสารวิจัย มข. 17(1): 141-152.

เสมา สอนประสม. 2559. ศึกษาความพึงพอใจในการใช้คลาสรูมในวิชาฟิสิกส์ 1 สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2559: 1340-1347.

Jakkaew, P., & Hemrungrote, S. 2017. The use of UTAUT2 model for understanding student perceptions using Google Classroom: A case study of introduction to information technology course. The International Conference on Digital Arts, Media and Technology 2017: 11- 17.

Joo, Y.J., Lim, K.Y., & Kim, E.K. 2014. Online university students’ satisfaction and persistence: Examining perceived level of presence, usefulness and ease of use as predictors in a structural model. Computers & Education. 57(1): 1654–1664.

Iftakha, S. 2016. GOOGLE CLASSROOM: WHAT WORKS AND HOW?. Journal of Education and Social Sciences. 3(2): 12-18.

Shaharanee, I.N., Jamil, M.J., & Rodzi, S. S. 2015. The Application of Google Classroom as a Tool for Teaching and Learning. Journal of Telecommunication Electronic and Computer Engineering. 8(10): 1-8.

Shaharanee, I.N., Jamil, M.J., & Rodzi, S. S. 2016. Google classroom as a tool for active learning. International Conference on Applied Science and Technology 2016: 105-112.