การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดธรรมราชาจากคติทางพระพุทธศาสนากับลักษณะการปกครองในกวีนิพนธ์หลีเซา

Main Article Content

พีรวัส วรมนธนาเกียรติ

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดธรรมราชาจากคติทางพระพุทธศาสนา กับลักษณะการปกครองในกวีนิพนธ์หลีเซา โดยการเปรียบเทียบนั้นจะใช้หลักธรรมราชาสาม หลักธรรมด้วยกัน อันได้แก่ ทศพิธราชธรรม อธิปไตย 3 และจักรพรรดิวัตร ผลการศึกษาปรากฎว่าหลักธรรมดังกล่าวสอดคล้องกับลักษณะการปกครองในกวีนิพนธ์หลีเซาทางด้านผู้นำประเทศ และบรรดาขุนนางผู้ปกครองในรัฐฉู่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะเด่นชัด ของการปกครองที่ขาดธรรมอันนำไปสู่ความล่มสลายของบ้านเมือง จากเหตุการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ทศพิธราชธรรม อธิปไตย 3 และจักรพรรดิวัตร เป็นจริยวัตรที่ผู้นำ หรือ บรรดาขุนนางผู้ปกครองทั้งหลายจะประพฤติยึดเหนี่ยวเป็นหลักธรรม หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง เพื่อให้มีความเป็นไปโดยธรรม และยังประโยชน์สุขให้เกิด แก่ประชาชน

 

Comparative Study of the Concept of Lord of Law in Buddhism with the Governances’ Form in the Poem Li Sao

The objective of this academic article was to compare the concept of the lord of law in Buddhism with the governances’ form in the poem, Li Sao. This comparison was based on the three core principles of the lord of law, consisting of the virtues of the King, the three of sovereignty, and the empire observances five. The article found that the three core principles were in accord with the governances’ form in the poem, Li Sao, in terms of the sovereign nobleman and ruler in Chu state. This reflected features prominently of the government and led to the collapse of the

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)