วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu <p><strong>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี </strong>เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ<br />โดยเปิดรับบทความวิจัย (Research paper) บทความวิชาการ (Academic article) และเผยแพร่ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ <strong>ISSN 2697-391X (Online) ตั้งแต่ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป ดาวน์โหลดบทความฉบับที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม &gt;&gt; <a href="https://www.ubu.ac.th/web/research/content/UBUSOC-Journal%20-%20%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87/">ที่นี่</a></strong></p> <p><strong>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</strong><br />ได้รับการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2564-2567 ให้อยู่ในกลุ่มที่<strong> 1 </strong></p> <p><strong>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี </strong>มีค่าธรรมเนียมการพิจารณาบทความ 3,000 บาท/บทความ (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป)<strong><br /></strong><br /><em>(ชำระเมื่อบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ เพื่อทำการส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาต่อไป)</em></p> สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี th-TH วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2228-8244 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> แนวทางการสร้างเสริมเด็กสองภาษา (ไทย – อังกฤษ) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/258237 <p>ยิ่งเด็กเรียนรู้ภาษาที่สองเร็วเท่าไร ยิ่งดีมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยความมุ่งมั่นตั้งใจของพ่อแม่ที่ต้องการสร้างเสริมลูกให้เป็นเด็กสองภาษา ในคำจำกัดความนี้ ภาษาที่กล่าวถึงคือ ภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาสากล ตามหลักการแล้ว มีนักทฤษฎีและนักภาษาศาสตร์หลายท่าน กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ในช่วงวัยเด็กเป็นเวลาแห่งการเรียนรู้ภาษาได้ดีที่สุด ผู้เขียนจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอทางเลือก และวิธีการสอนเด็กสองภาษา สำหรับพ่อแม่ และสำหรับครูผู้สอนในโรงเรียนที่ช่วยสร้างเสริมให้เด็กเรียนรู้ภาษาที่สองอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับภาษาแม่ สำหรับในครอบครัว พ่อแม่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อม และฝึกฝนการใช้ภาษาที่สองของตนเอง เพื่อเป็นต้นแบบที่ดีให้ลูก พ่อแม่สามารถเลือกการสอนที่เหมาะสมต่อบริบทของครอบครัว ประกอบด้วย 5 ทางเลือก ได้แก่ 1) หนึ่งคนหนึ่งภาษา 2) การเลือกเวลาตามสะดวก 3) หนึ่งภาษาในบ้าน หนึ่งภาษาในสังคม 4) การใช้ภาษาที่หลากหลายในบ้าน และ 5) การส่งเสริมการเรียนโดยเจ้าของภาษา อีกทั้งการส่งเสริมเด็กในโรงเรียนนั้น ครูผู้สอนเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการสร้างเสริมเด็กสองภาษา โดยเริ่มได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ครูผู้สอนต้องเลือกวิธีการสอนภาษาให้เหมาะสมต่อบริบทของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นทักษะด้านการสื่อสารเป็นสำคัญ เน้นการฟัง และการพูดในชีวิตประจำวัน ควบคู่กับการส่งเสริมด้านการอ่านและการเขียนตามลำดับ อีกทั้งควรเน้นการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนแบบเชิงรุก ซึ่งบทบาทของครูผู้สอนจะน้อยลง แต่กลายเป็นผู้วางแผน ผู้อำนวยความสะดวก และเป็นที่ปรึกษา เพื่อคอยกระตุ้น และส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง ฉะนั้นถึงเวลาแล้ว ทั้งพ่อแม่ และครูผู้สอน ต้องตระหนักถึงความสำคัญ และวางแผนการเรียนรู้ภาษาที่สองของเด็กโดยเร็ว</p> กิตติมา สิงห์สนธิ์ Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-15 2023-11-15 14 2 291 314 รูปแบบการเรียนรู้ส่วนบุคคลในศตวรรษที่ 21 หลังการระบาดของ COVID-19 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/253025 <p>การเรียนรู้ส่วนบุคคลเป็นการเรียนรู้ที่ตอบสนองธรรมชาติ ความต้องการ และความแตกต่างระหว่างบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีพลังและเหมาะสมสำหรับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์อย่างมาก โดยเฉพาะ ในศตวรรษที่ 21 ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ และปัญญาประดิษฐ์ อย่างกว้างขวาง และโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์อย่างสมบูรณ์ทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสาร ทำงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ทั่วโลก มีทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกศาสตร์สาขาบนอินเทอร์เน็ต สามารถทำลายข้อจำกัดการเรียนรู้ส่วนบุคคลในอดีตที่ไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ของโลกทำให้มนุษย์ไม่สามารถทำงานหรือเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ได้ จึงเป็นปัจจัยบังคับให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการเรียนรู้ใหม่ที่มีคุณภาพไม่ด้อยกว่าเดิม จึงคาดว่าการเรียนรู้ส่วนบุคคลจะเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมและประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในศตวรรษที่ 21 หลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 บทความวิชาการนี้ทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบจากเอกสารทางวิชาการ รายงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ นำเสนอแนวคิดครอบคลุม 6 ประเด็น ดังนี้ 1) ความหมายการเรียนรู้ส่วนบุคคล 2) วิวัฒนาการเรียนรู้ส่วนบุคคล 3) ปรากฏการณ์ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทักษะการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 4) ทิศทางการจัดการเรียนรู้ส่วนบุคคลในศตวรรษที่ 21 5) แนวโน้มการจัดการเรียนรู้ส่วนบุคคลหลังการระบาดของ COVID-19 และ 6) รูปแบบการเรียนรู้ส่วนบุคคล หลังการระบาดของ COVID-19</p> สุธิดา เลขะวัฒนะ วิรัตน์ พงษ์ศิริ ฉวีวรรณ พลสนะ Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-15 2023-11-15 14 2 315 338 กระบวนการเล่าเรื่องและการประกอบสร้างความหมายผ่านตัวละครในข่าวอาชญากรรมของรายการทุบโต๊ะข่าว อัมรินทร์ทีวี 34: กรณีศึกษาข่าวการเสียชีวิตของน้องชมพู่ หมู่บ้านกกกอก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/254426 <p>บทความวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการเล่าเรื่องในข่าวอาชญากรรมของสื่อมวลชนไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเล่าเรื่องและการประกอบสร้างความหมายทางสังคมผ่านตัวละครในข่าวอาชญากรรมของรายการทุบโต๊ะข่าว อัมรินทร์ทีวี 34 มีขอบเขตการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกรณีศึกษาข่าวการเสียชีวิตของน้องชมพู่ หมู่บ้านกกกอก จังหวัดมุกดาหาร เป็นระยะเวลารวม 14 เดือน งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีวิจัยแบบวิเคราะห์เนื้อหา ร่วมกับการวิเคราะห์ตัวบท</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการเล่าเรื่องในข่าวอาชญากรรมของรายการทุบโต๊ะข่าว อัมรินทร์ทีวี 34 ใช้วิธีการเล่าเรื่องรูปแบบเดียวกับบันเทิงคดี มีการกำหนดแก่นเรื่อง โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก บทสนทนาและกลวิธีในการเล่าเรื่องของข่าว มาสร้างเรื่องเล่าที่สมบูรณ์ โดยใช้วิธีประกอบสร้างความหมายให้กับตัวละครในข่าว สร้างความหมายให้ตัวละครในลักษณะที่ลื่นไหลทั้งเป็นผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ สลับบทบาทตามช่วงเวลา พยาน หลักฐาน ทำให้เกิดภาพลักษณ์ของข่าวและบุคคลในข่าวแตกต่างกัน โดยมีผู้สื่อข่าวเป็นตัวละครร่วม การนำเสนอข่าวอาชญากรรมยังมีการอ้างอิงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์มาเล่าเรื่องในลักษณะพึ่งพิงข้อมูลระหว่างกัน</p> ณัชชา อาจารยุตต์ Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-15 2023-11-15 14 2 1 27 การกระจายอำนาจภายใต้การบังคับใช้กฎหมายและข้อบังคับในนโยบายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/255211 <p>บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อวิเคราะห์ถึงการกระจายอำนาจและการบังคับใช้กฎหมายและข้อบังคับในนโยบายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) เจ้าหน้าที่ภาครัฐ 2) ภาคประชาชน และ 3) ภาคธุรกิจ ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1) กฎหมายและข้อบังคับด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากระดับชาติถึงท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันมีคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด ดำเนินการภายใต้ฐานคิดการควบคุมและสั่งการจากอำนาจรัฐผ่านตัวเจ้าหน้าที่รัฐเป็นสำคัญ ทั้งนี้ มีสัดส่วนของการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายภาคประชาชนถูกลดทอนโดยอำนาจรัฐผ่านการจัดคณะทำงานผ่านตำแหน่งข้าราชการที่เกี่ยวข้อง 2) การทำงานร่วมกันระหว่างท้องถิ่นกับหน่วยงานส่วนกลางของรัฐในด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สะท้อนภาพลักษณะของการสั่งการและลักษณะของการขอความร่วมมือ และ<br />3) หลักการกระจายอำนาจประเด็นกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวคือ ควรกระจายอำนาจและลดบทบาทการรวมศูนย์ในเชิงนโยบายเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นได้กระทำการในประเด็นเรื่องแอลกอฮอล์อย่างอิสระ</p> วสันต์ ปวนปันวงศ์ Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-15 2023-11-15 14 2 28 59 การศึกษาเปรียบเทียบการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของ ผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบังคลาเทศ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/254621 <p>โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของ<br />ผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทย การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและ<br />การสัมภาษณ์เชิงลึก รวมถึงศึกษาเปรียบเทียบการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศบังคลาเทศ ผลการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า ประเทศบังคลาเทศ ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ได้มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ประเทศบังคลาเทศบังคับใช้พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ค.ศ.1918 และพระราชบัญญัติผู้ให้กู้ยืมเงิน ค.ศ.1940 ประเทศมาเลเซียบังคับใช้พระราชบัญญัติผู้ให้กู้ยืมเงิน ค.ศ.1951 และกฎหมายอิสลาม ประเทศฟิลิปปินส์บังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับที่ 2655 (กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา) และ<br />ประเทศไทยบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติ<br />ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ส่วนมาตรการที่ไม่ใช่กฎหมายสำหรับแก้ปัญหาหนี้นอกระบบนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยใช้ระบบการเงินแบบรากฐาน ประเทศบังคลาเทศได้มีการจัดตั้งธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ซึ่งเป็นธนาคารหมู่บ้านแห่งแรกของโลกเพื่อผู้ยากไร้และเป็นระบบการเงินแบบรากฐาน ต่อมา ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงประเทศไทย ได้นำแบบอย่างของประเทศบังคลาเทศและจัดตั้งธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อผู้มีรายได้น้อยในประเทศของตนเองเพื่อช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ</p> <p> ผลการวิเคราะห์พบว่า กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบันของประเทศไทยและประเทศที่ศึกษาเปรียบเทียบ อาจไม่ใช่เครื่องมือที่แก้ปัญหาหนี้นอกระบบโดยตรง เพราะปัญหาหนี้นอกระบบยังพบได้อยู่ในทุกประเทศ กฎหมายไม่ได้แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุซึ่งก็คือความยากจน กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือที่นำผู้กระทำความผิดเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรามาลงโทษและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบสำหรับประเทศไทยคือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยใช้มาตรการอื่นที่ไม่ใช่กฎหมาย เช่น การใช้แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมีวินัยทางการเงิน การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินให้มีมากขึ้น การจัดให้มีการฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่ผู้มีรายได้น้อยและให้มีตลาดรองรับสินค้าหรือบริการจากผู้มีรายได้น้อย ประการสำคัญคือรัฐบาลควรมีนโยบายและดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างต่อเนื่อง</p> เศรษฐบุตร อิทธิธรรมวินิจ Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-15 2023-11-15 14 2 60 89 การจัดการความรู้เพื่อสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูที่ได้รับผลกระทบจากการอพยพ บ้านวังใหม่ ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/251247 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูหลังได้รับผลกระทบจากการอพยพ และ เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ เวทีสนทนากลุ่ม รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ผังต้นไม้แห่งปัญหา, กรอบเหตุผลสัมพันธ์, แผนที่ผลลัพธ์, ดาบคู่ และตัวชี้วัดตามแนวทางการจัดการความรู้ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ลีซูมีความทรงจำเกี่ยวกับวัฒนธรรมจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน ได้แก่ประเด็น “ภาษา/วรรณกรรม” “ภูมิปัญญา/อาหาร/การแต่งกาย” และ “วิถีการดำเนินชีวิต/พิธีกรรม” นอกจากนี้ องค์ความรู้ส่วนใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูจะอยู่กับตัวบุคคลคือปราชญ์ชาวบ้าน ความรู้เหล่านี้ยังไม่ได้จัดเก็บอย่างเป็นรูปแบบ จึงได้รวบรวมข้อมูลโดยกำหนดความรู้หลักเรื่องวัฒนธรรม ได้แก่ ด้านภาษาและวรรณกรรม เรื่องประเพณีและพิธีกรรมของชุมชน เรื่องอาหาร ด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และปราชญ์/ผู้รู้ในชุมชน ผ่านแผนที่ชุมชนและปฏิทิน 12 เดือน การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรทางวัฒนธรรม รวมไปถึงการวางแผนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ผลจากการจัดการชุดความรู้ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งผลให้ผู้คนในกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูและผู้คนภายนอกเกิดการยอมรับและเห็นถึงคุณค่า ความหมาย รวมถึงความสำคัญของวัฒนธรรม</p> <p> ผลจากการจัดการชุด “ความรู้ทางวัฒนธรรม” ของกลุ่มชาติพันธุ์ ได้สร้างเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บความรู้ คือ “แผนที่ชุมชน” และ “ปฏิทิน 12 เดือน” ที่ได้จากบุคคลสำคัญในชุมชน มีการบรรจุชุดความรู้ทางวัฒนธรรม ของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อใช้เชื่อมโยงผู้คนของทั้งสองกลุ่มเกิดการยอมรับและเห็นถึงคุณค่า ความหมาย รวมถึงความสำคัญของวัฒนธรรม เพื่อใช้ชุดความรู้เหล่านี้เป็นเครื่องมือที่มีอำนาจในสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรม และยึดโยงไปสู่ความสัมพันธ์กับหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ การจัดการศึกษาของโรงเรียน พัฒนาหลักสูตรทางวัฒนธรรมชุมชนให้เด็กและเยาวชนอย่างเป็นรูปธรรม จนเกิดแรงจูงใจทั้งผู้ใช้หลักสูตรและชุมชน เพื่อปลดล็อคการถูกกดทับทางวัฒนธรรมกระแสหลัก ให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ สะท้อนในพื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นทางวัฒนธรรมที่ได้รับการจัดสร้างขึ้นจากชุมชน</p> สุภาวดี ยาดี เกรียงไกร กองเส็ง วิไลลักษณ์ พรมเสน ณัฐนรินทร์ เมธีวุฒินันทน์ ภาณุภัทรธนวัฒน์ อัคจร แม๊ะบ้าน เสาวรีย์ บุญสา นิศาชล พรมดี Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-15 2023-11-15 14 2 90 120 ข้อผิดพลาดในการแปลโครงสร้าง Present Participial Phrases ของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยบูรพา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/253453 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาลักษณะหรือรูปแบบข้อผิดพลาดในการแปลโครงสร้าง present participial phrases ในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลจากแบบทดสอบการแปลจากตัวอย่างจำนวน 230 คน ซึ่งเป็นนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมุ่งอธิบายให้เห็นลักษณะหรือรูปแบบข้อผิดพลาดในการแปลด้วยการแสดงโครงสร้างภาษาที่ปรากฏในฉบับแปล ผลการวิจัยพบลักษณะข้อผิดพลาดในการแปลโครงสร้าง present participial phrases 7 รูปแบบ ได้แก่ <br />1) การถ่ายทอดความหมาย present participial phrases ด้วย independent clauses <br />2) การถ่ายทอดความหมาย present participial phrases ด้วย adverbial clauses <br />3) การถ่ายทอดความหมาย present participial phrases ด้วย adjective clauses <br />4) การถ่ายทอดความหมาย present participial phrases ด้วย noun phrases <br />5) การถ่ายทอดความหมาย present participial phrases ด้วย adverbial phrases <br />6) การถ่ายทอดความหมาย present participial phrases ด้วย verb phrases และ <br />7) คำแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยความคิดที่ปรากฏผิดตำแหน่งจากต้นฉบับ ลักษณะข้อผิดพลาดในการแปลดังกล่าวอธิบายได้ด้วยโครงสร้างของภาษาฉบับแปล</p> สมภพ ใหญ่โสมานัง Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-15 2023-11-15 14 2 121 152 การศึกษาอิทธิพลของการเสริมสร้างพลังอำนาจ และความเชื่อประสิทธิภาพในตนของครูที่มีต่อความก้าวหน้าในวิชาชีพครู https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/256103 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงของการเสริมสร้างพลังอำนาจที่มีต่อความก้าวหน้าในวิชาชีพครู และเพื่อศึกษาอิทธิพลทางอ้อมของการเสริมสร้างพลังอำนาจที่มีต่อความก้าวหน้าในวิชาชีพครู ผ่านความเชื่อประสิทธิภาพในตนของครู กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ ข้าราชการครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายไตรรัตน์สัมพันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 144 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ทที่มี<br />ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัคของแต่ละตัวแปรมากกว่า 0.7 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า (1) การเสริมสร้างพลังอำนาจส่งผลทางตรงต่อทัศนคติของครูที่มีต่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ และ (2) การเสริมสร้างพลังอำนาจมีอิทธิพลทางอ้อมต่อทัศนคติของครูที่มีต่อความก้าวหน้าในวิชาชีพครู ผ่านความเชื่อประสิทธิภาพในตนของครู</p> จริยา จันทร์ละมูล มีชัย ออสุวรรณ สุดารัตน์ สารสว่าง Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-15 2023-11-15 14 2 153 173 การประยุกต์ใช้แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ในธุรกิจโรงแรมสำหรับผู้สูงอายุ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/258260 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาองค์ประกอบของโรงแรมที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกพักของผู้สูงอายุ โดยนำแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมมาประยุกต์ใช้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับโรงแรมหรือการประกอบวิชาชีพไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 25 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยใช้โปรแกรม ATLAS.ti Version 22.0.10.0 ช่วยในการวิเคราะห์ และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของโรงแรมตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกพักของผู้สูงอายุที่ค้นพบมีทั้งสิ้น 24 องค์ประกอบ แบ่งเป็นองค์ประกอบที่มีความโดดเด่นจำนวน 7 องค์ประกอบ ที่สำคัญได้แก่ 1) ความสะดวกสบาย ใช้งานง่าย 2) ความรู้สึกปลอดภัย และ 3) ความรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ และองค์ประกอบที่มีความน่าสนใจ จำนวน 17 องค์ประกอบ ที่สำคัญได้แก่ 1) อาหารและเครื่องดื่มที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับวัย 2) สุขภัณฑ์และของใช้ในห้องน้ำที่ใช้งานง่าย และ 3) การให้บริการอย่างมีมาตรฐาน ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในพัฒนาธุรกิจโรงแรมให้สามารถนำเสนอการบริการได้ตรงตามความต้องการของลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยสร้างความแตกต่างในตลาด ยกระดับความพึงพอใจ และเพิ่มยอดขายเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยต่อไป</p> วิวัฒน์ ภัทรธีรกานต์ อมรวรรณ รังกูล Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-15 2023-11-15 14 2 174 208 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/257490 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 424 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังจังหวัดภูเก็ต โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การบอกต่อ รองลงมา คือ การมาเที่ยวซ้ำ ระยะเวลาที่มาเที่ยว การรับทราบข้อมูลด้านการท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการไป ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังจังหวัดภูเก็ต คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัยและปลอดภัยจากโรคระบาด การส่งเสริมการตลาด กระบวนการในการให้บริการ ราคา ผลิตภัณฑ์ และช่องทางการจัดจำหน่าย ได้ระดับการมีอิทธิพลร้อยละ 54.6 (R<sup>2</sup>= .546) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ สภาพแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัยและปลอดภัยจากโรคระบาด (X<sub>7</sub>) (Beta=.282) การส่งเสริมการตลาด (X<sub>4</sub>) (Beta=.175) กระบวนการในการให้บริการ (X<sub>6</sub>) (Beta=.119) ราคา (X<sub>2</sub>) (Beta=.111) ผลิตภัณฑ์ (X<sub>1</sub>) (Beta=.109) และช่องทางการจัดจำหน่าย (X<sub>3</sub>) (Beta=.095) ตามลำดับ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การบอกต่อ รองลงมา คือ การมาเที่ยวซ้ำ ระยะเวลาที่มาเที่ยว การรับทราบข้อมูลด้านการท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการไป ตามลำดับ</p> <p>ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังจังหวัดภูเก็ต คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัยและปลอดภัยจากโรคระบาด การส่งเสริมการตลาด กระบวนการในการให้บริการ ราคา ผลิตภัณฑ์ และช่องทางการจัดจำหน่าย ได้ระดับการมีอิทธิพลร้อยละ 54.6 (R<sup>2</sup>= .546) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ สภาพแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัยและปลอดภัยจากโรคระบาด (X<sub>7</sub>) (Beta=.282) การส่งเสริมการตลาด (X<sub>4</sub>) (Beta=.175) กระบวนการในการให้บริการ (X<sub>6</sub>) (Beta=.119) ราคา (X<sub>2</sub>) (Beta=.111) ผลิตภัณฑ์ (X<sub>1</sub>) (Beta=.109) และช่องทางการจัดจำหน่าย (X<sub>3</sub>) (Beta=.095) ตามลำดับ</p> ราตรีญา ธีรภัทร์ตระกูล Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-15 2023-11-15 14 2 209 238 อิทธิพลสื่อสังคมที่มีต่อผลการดำเนินงานธุรกิจโรงแรม ในประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/253722 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบของสื่อสังคมที่มีต่อผลการดำเนินงานธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารการตลาดของโรงแรม 4-5 ดาวในประเทศไทย จำนวน 145 ราย ซึ่งใช้เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยผู้เชี่ยวชาญและการทดสอบทางสถิติด้วยค่าอำนาจจำแนก มีค่าระหว่าง 0.794 - 0.927 และความเชื่อมั่นด้วยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าระหว่าง 0.826 - 0.918 ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและใช้การถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐาน</p> <p>ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าสื่อสังคมมีอิทธิพลสำคัญและส่งผลกระทบเชิงบวกต่อภาพลักษณ์กิจการและผลการดำเนินงาน ในทำนองเดียวกันภาพลักษณ์กิจการนำไปสู่ผลการดำเนินงานของกิจการ นอกจากนี้ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าภาพลักษณ์กิจการมีอิทธิพลเป็นตัวแปรส่งผ่านบางส่วนระหว่างสื่อสังคมกับผลการดำเนินงานกิจการ</p> ฉัตรชัย อินทสังข์ ผุสดี นิลสมัคร Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-15 2023-11-15 14 2 239 260 อิทธิพลของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/254068 <p>การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีผลต่ออัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นและอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในการวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 69 บริษัท โดยการบริหารเงินทุนหมุนเวียนใช้อัตราส่วนชี้วัด จำนวน 6 อัตราส่วน ได้แก่ วงจรเงินสด ระยะเวลาหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ ระยะเวลาหมุนเวียนลูกหนี้ ระยะเวลาหมุนเวียนเจ้าหนี้ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนอย่างเร็ว ในขณะที่ความสามารถในการทำกำไรใช้อัตราส่วนชี้วัด จำนวน 3 อัตราส่วน ได้แก่ อัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้อมูลทุติยภูมิ ทำการเก็บข้อมูลจากงบการเงินรายปี ช่วงระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 - พ.ศ.2563 โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลาหมุนเวียนลูกหนี้ และระยะเวลาหมุนเวียนเจ้าหนี้ มีอิทธิพลต่ออัตรากำไรสุทธิ และอัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในขณะที่การบริหารเงินทุนหมุนเวียนไม่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05</p> อัศวเทพ อากาศวิภาต Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-15 2023-11-15 14 2 261 290