การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิด สะเต็มศึกษาในระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

จุฑามณี ทิพราช
มาฆบดี รวยทรัพย์
กฤติเดช จันทวารา
สุพัฒน์ กู้เกียรติกูล
อุดม ทิพราช
วันชนะ บุญชม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลที่ได้จากการวิเคราะห์ความต้องการจําเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทั้ง 6 ทักษะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทักษะทั้ง 6 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะในการประดิษฐ์สร้างสรรค์ ทักษะในการช่วยเหลือตัวเองได้ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ทักษะการรู้ในเชิงเทคโนโลยี และทักษะทางสังคม การสำรวจได้จำแนกประเภทของการสำรวจความคิดเห็นเป็นการสำรวจความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ และการสำรวจความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาสายมนุษยศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 4 คนและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำนวน 2 คน และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีจำนวน 168 คน และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจความต้องการในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index, PNImodified)จากการสำรวจความคิดเห็นของอาจารย์สายวิทยาศาสตร์และสายมนุษยศาสตร์ พบว่า นักศึกษาต้องการพัฒนาทักษะในการประดิษฐ์สร้างสรรค์เป็นอันดับ 1 (PNImodified=0.38 )  อันดับ2 คือ ทักษะในการรู้เชิงเทคโนโลยี  (PNImodified=0.37 ) อันดับ 3คือ ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล (PNImodified=0.36 ) อันดับ 4มี ทักษะการแก้ปัญหา(PNImodified=0.31) อันดับ 4 คือ ทักษะทางสังคม (PNImodified=0.31) และอันดับ 6 คือ ทักษะในการช่วยเหลือตัวเอง(PNImodified=0.26) โดยที่ทักษะ 5 ด้าน ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะในการประดิษฐ์สร้างสรรค์ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ทักษะการรู้เชิงเทคโนโลยี และทักษะทางสังคม มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาในระดับกลาง (0.3 PNImodified0.5) และทักษะในการช่วยเหลือตัวเองมีความจำเป็นต้องการในการพัฒนาอยู่ในระดับขั้นต้น (PNImodified0.3)  และจากการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์และสายมนุษยศาสตร์ พบว่า นักศึกษาต้องการพัฒนาทักษะในการประดิษฐ์สร้างสรรค์เป็นอันดับ 1 (PNImodified=1.15 ) อันดับ 2 คือ ทักษะในการช่วยเหลือตัวเอง(PNImodified=0.85) อันดับ 3 คือทักษะในการรู้เชิงเทคโนโลยี (PNImodified=0.68) อันดับ 4 มีทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล (PNImodified=0.58) อันดับ 4 คือ ทักษะทางสังคม (PNImodified=0.58) และอันดับ 6 คือ ทักษะการแก้ปัญหา(PNImodified =0.51) โดยที่ทักษะทั้งหมด 6 ด้าน มีความต้องการจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการพัฒนา (PNImodified0.5)

Article Details

บท
บทความวิชาการ