โมเดลบทบาทความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วัชราภรณ์ จันทนุกูล
สัญญา เคณาภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวชี้วัดบทบาทความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบโมเดลบทบาทความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 3) เพื่อยืนยันโมเดลบทบาทความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแหล่งข้อมูลประกอบด้วย 1) เอกสารและหลักฐาน ได้แก่ แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ผู้มีบทบาทในการกำกับมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 6 คน 3) บุคลากรในมหาวิทยาลัย ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 500 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ไม่น้อยกว่า 20 เท่าของตัวแปร และ 4) ผู้ทรงคุณยืนยันโมเดล ประกอบด้วย อธิการบดี รองอธิการบดี และคณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 11 แห่ง จำนวน 20 คน การวิจัยนี้เก็บข้อมูลทั้งการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ และ แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคของการวิเคราะห์เอกสารและการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอเชิงพรรณนาความ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละด้วยค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และวิเคราะห์โมเดลบทบาทความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นใช้การวิเคราะห์ Confirm Factoring Analysis (CFA) ผลการวิจัยพบว่า โมเดลบทบาทความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 8 มิติ องค์ประกอบย่อย 49 ด้าน และตัวชี้วัด 263 ตัวบ่งชี้

Article Details

บท
บทความวิชาการ