กระบวนทัศน์ทางเลือกสาธารณะ

Main Article Content

สัญญา เคณาภูมิ

บทคัดย่อ

กระบวนทัศน์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ได้รับการเรียกร้องให้มีการปรับปรุงเนื้อหาสาระเนื่องมาจากการวิกฤติอัตลักษณ์ของศาสตร์ นักวิชาการหลายท่านจึงได้พยายามเสนอทฤษฎีใหม่ ๆ ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะก็เป็นหนึ่งในข้อเสนอแนะของการปรับปรุงเนื้อหาสาระดังกล่าว นักวิชาการบางท่านเรียกว่า ทฤษฎีการบริหารแบบประชาธิปไตย (Democratic administration) ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ ประกอบด้วย การร่วมกลุ่มกันอย่างหลวม ๆ ของทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ เรียกว่า ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์การเมือง แล้วนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาว่า สินค้าและบริการสาธารณะที่มีอยู่อย่างจำกัดควรจะถูกจัดสรรในสังคมให้ดีที่สุดได้อย่างไร ทฤษฎีฐานคติทางเลือกสาธารณะ ได้แก่ ทฤษฎีการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ทฤษฎีประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมหรือทฤษฎีการเมืองภาคประชาชน ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ทฤษฎีการตลาด เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บูฆอรี ยีหมะ. (2543). ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุผล (Rational Choice Theory): อีกหนึ่งความพยายามของสังคมศาสตร์ที่จะเป็นวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2541). การมีส่วนร่วมในทางการเมืองของประชาชนในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กับความเป็นประชาธิปไตยทางตรง. วารสารกฎหมายปกครอง, 57–81.

มนัส สินสอน. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการก่อสร้างลานจอดรถยนต์ให้เช่าในพื้นที่ Free Zone กรณีศึกษา บริษัท เอ็ม เอส เอส โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, มหาวิทยาลัยบูรพา