การสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีพฤติกรรมเชิงจริยธรรม

Main Article Content

บุญมี โททำ
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร
สัญญา เคณาภูมิ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการสังเคราะห์แนวคิดเชิงทฤษฎีเพื่อค้นหากรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของพฤติกรรมเชิงจริยธรรม โดยกระบวนการสังเคราะห์จากแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทำให้ได้พฤติกรรมเชิงจริยธรรมใน 5 มิติ ซึ่งมีฐานคติเชิงทฤษฎีในแต่ละมิติประกอบด้วยการรับรู้ (Perception) เป็นการรับรู้ข้อมูลที่ได้จากการสัมผัสจากประสาทสัมผัสภายใน แล้วเกิดการรับรู้ว่าสิ่งที่สัมผัสนั้นคืออะไร หมายถึงอะไร ซึ่งกระบวนการสุดท้ายของการรับรู้คือ ความรู้ ความเข้าใจ (Understanding) ความรู้สึก (Feeling) เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นต่อจากการได้สัมผัสรับรู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร บุคคลก็จะเกิดความรู้สึกตามมา เช่น ชอบ ไม่ชอบ พอใจ ไม่พอใจ เป็นต้น ในขั้นความรู้สึกนี้เราเรียกว่า ทัศนคติหรือเจตคติ (Attitude) ที่มีต่อสิ่งที่ตนเองได้สัมผัสนั้น ได้แก่ มิติเจตคติ (Attitude) การให้คุณค่า (Value) เป็นเรื่องของการให้คุณค่าในสิ่งที่บุคคลได้สัมผัส การให้คุณค่าบุคคลย่อมใช้วิจารณญาณ (Judgment) วิเคราะห์เปรียบเทียบกับเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งเพื่อสรุปตีค่าราคาสิ่งนั้น เช่น มาตรฐานเดิม (สังคมตั้งค่าไว้แล้ว) มาตรฐานตามตนเอง (ตนเองตั้งค่าเอง) ได้แก่ มิติวิจารณญาณ (Judgment) คือ การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม การแสดงออก (Action) เป็นการแสดงออกทางอากัปกิริยาอาการที่แสดงออกจากอิทธิพลจากการรับรู้ (Perception) ความรู้สึก (Feeling) การให้คุณค่า (Value) เช่น หากบุคคลชอบหรือเห็นคุณค่าบุคคลก็จะเข้าหาหรือแสวงหา หากไม่ชอบหรือไม่เห็นคุณค่าก็จะหลีกเว้น หรือเฉยๆ เป็นต้น ได้แก่ มิติพฤติกรรม (Behavior) ได้แก่ การแสดงออกเชิงจริยธรรม พฤติกรรมที่กลายเป็นอุปนิสัยกล่าวคือ เป็นพฤติกรรมที่บุคคลเคยชินคุ้นเคยที่ต้องปฏิบัติเช่นนั้นเมื่อมีสิ่งเร้าที่มีผลต่อพฤติกรรมเกิดขึ้น เช่น เมื่อมี  สิ่งเร้าที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้นต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง บุคคลนั้นมักแสดงพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันทุกครั้ง คือ มิติบุคลิกภาพ (Personality)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา ศรีปาน. (2546). ศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบุญเลิศอนุสรณ์ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

จักรพงษ์ นิลพงษ์. (2543). การศึกษาจริยธรรมนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เจียมจิต บุญรักษ์. (2534). พฤติกรรมทางจริยธรรมตามหลักเบญจธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยพลศึกษาในภาคเหนือ.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชุดา จิตพิทักษ์. (2525). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. (ครั้งที่พิมพ์ 2). กรุงเทพฯ: สารมวลชน.