ภาพสะท้อนความรุนแรงในผู้สูงอายุที่ปรากฏในข่าวหนังสือพิมพ์ไทย

Main Article Content

Rodsarin Dittabanjong

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาในการนำเสนอภาพสะท้อนความรุนแรงในผู้สูงอายุและเพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนความรุนแรงในผู้สูงอายุที่ปรากฏในข่าวหนังสือพิมพ์ไทย โดยเก็บข้อมูลจากข่าวหนังสือพิมพ์ไทยจำนวน 2 ชื่อฉบับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์ข่าวสด ระหว่างปี พ.ศ.2558-พ.ศ.2559 ผลการวิจัยพบว่ากลวิธีการใช้ภาษาในการนำเสนอภาพสะท้อนความรุนแรงในผู้สูงอายุที่ปรากฏในข่าวหนังสือพิมพ์ไทย ปรากฏกลวิธีทางอรรถศาสตร์ ได้แก่ การใช้คำเรียกผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิงด้วยถ้อยคำที่รุนแรง โดยลักษณะของถ้อยคำที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงการว่ากล่าวและดูถูกเหยียดหยามผู้สูงอายุ ปรากฏในเพศชายมากกว่าเพศหญิง คำเรียกผู้สูงอายุด้วยถ้อยคำที่รุนแรง ปรากฏทั้งเป็นคำเดียวและปรากฏในรูปแบบโครงสร้างคำประสม คำหรือกลุ่มคำที่แสดงความรุนแรงต่อผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิงปรากฏการกระทำความรุนแรงต่อร่างกายและจิตใจ ปรากฏทั้งกลวิธีทางวัจนภาษาและอวัจนภาษา และปรากฏในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ภาพสะท้อนความรุนแรงในผู้สูงอายุที่ปรากฏในข่าวหนังสือพิมพ์ไทย ปรากฏ 6 ประเภท ได้แก่ การละเมิดทางร่างกาย (Physical Abuse) การละเมิดทางจิตใจ (Psychological Abuse) ความรุนแรงด้านวัตถุ (Material Abuse หรือ Financial Abuse) การรุกล้ำสิทธิของผู้สูงอายุ (Violation right) การทำร้ายตนเอง (Self Abuse) และ การทอดทิ้งผู้สูงอายุ (Neglect)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2547). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ:
เจ เอสการพิมพ์.
กิตติพรรณ ศิริทรัพย์. (2553). ประสบการณ์ทางจิตใจของผู้สูงอายุที่ถูกกระทำรุนแรง. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชนและผู้สูงอายุ วุฒิสภา, สำนักงาน. (2546). ความรุนแรงต่อผู้สูงอายุใน
ครอบครัว. กรรมาธิการ 2 สำนักเลขาธิการวุฒิสภา.
จันจิรา วิชัยและอมรา สุนทรธาดา (2553). สุขภาวะผู้สูงอายุในมิติของการกระทำความรุนแรง. สืบค้นเมื่อ
1 พฤษภาคม 2561, จาก www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr/.../408-ValueElderly-Chapter09.pdf.
จิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2553). ผู้สูงอายุกับการตกเป็นเหยื่อความรุนแรง. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2553,
จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/22543-%27ผู้สูงอายุ%27%20กับการตกเป็น
เหยื่อ%20%27ความรุนแรง%27.html.
ปัทมา ว่าพัฒนวงค์และปราโมทย์ ประสาทกุล. (2552). ประชากรไทยในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม
2553. จาก https://www.Nso/go.th.
พัทรินทร์ บุญเสริม. (2546). ความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้สูงอายุในอำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ.
วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรรณภา ศรีธัญรัตน์และผ่องพรรณ อรุณแสง. (2546). สถานการณ์ผู้สูงอายุ: เสียงสะท้อนจากหนังสือพิมพ์
รายวันไทย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 26 (1): มกราคม-เมษายน.

ศิริวรรณ ศิริบุญและปัทมา อมรสิริสมบูรณ์. (2544). ผู้สูงอายุไทย: “อยู่ทน” หรือ “ทนอยู่”. วารสารพฤฒา
วิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 4: ตุลาคม-ธันวาคม.
สมโภชน์ อเนกสุขและกชกร สังขชาติ. (2548). รูปแบบการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุวัยอายุเกิน 100 ปี จังหวัด
ชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ 17(1).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). ประชากรสูงอายุไทย:
ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
อัญณิการ์ วงศ์พรหม. (2549). การสังเคราะห์สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ.
วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาครอบครัวและสังคม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Chilton, Paul and Christina Schaffner. (2007). Discourse and Politics. Discourse as Social
Interaction, Teun A. van Dijk (ed.), 211-214. London: Sage Publication.
Joseph Pulitzer, in the North America Review (May1904) อ้างถึงใน Joh Hohenberg,
The Professional Journalist, 4 th ed., (N.Y.: Holt Rinehart Winston, 1978).
Wiehe, Vernon R. (1998). Understanding Family Violence: treating and preventing partner,
child. Sibling and elder abuse. Thousand Oaks, Calif: Sage.