ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในการท่องเที่ยวตลาดน้ำตลิ่งชัน

Main Article Content

sirirat khantong

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในการท่องเที่ยวตลาดน้ำตลิ่งชัน           มีจุดมุ่งหมายของการวิจัย 2 ประการ คือ 1. เพื่อทราบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในการท่องเที่ยวตลาดน้ำตลิ่งชัน 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในการท่องเที่ยวตลาดน้ำตลิ่งชัน จำแนกตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำตลิ่งชัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวบข้อมูลคือ แบบสอบถาม โดยการใช้วิธีการเก็บตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 385 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ (t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ANOVA สถิติที่ใช้คือ (F-test) ในกรณีที่ทดสอบแล้วมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้การเปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple comparison test) ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method)


ผลการศึกษาพบว่า 1) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำตลิ่งชัน ส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-29 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้อยู่ระหว่าง 20,000 - 29,999 บาท อยู่ในสถานภาพการสมรสโสด 2) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำตลิ่งชันให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่ให้ความสำคัญคือด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ รองลงมาได้แก่ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา ด้านที่ให้ความสำคัญอยู่ในระดับมากได้แก่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการ ด้านบุคลากร และด้านการส่งเสริมการตลาด 3) ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า นักท่องเที่ยวที่มีลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันจะให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการมาท่องเที่ยวตลาดน้ำตลิ่งชันแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ยกเว้นแต่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศและระดับการศึกษาเท่านั้นที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการมาท่องเที่ยวตลาดน้ำตลิ่งชันไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). ตลาดน้ำตลิ่งชัน. [ออนไลน]. ได้จาก: https://thai.tourismthailand.org [สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 สิงหาคม 2561].

กัญญาภัค มานะประเสริฐศักดิ์. (2554). ความพึงพอใจและส่วนประสมตลาดบริการในการใช้บริการสนามกอล์ฟของผู้ใช้บริการสนามกอล์ฟชาวไทยและชาวญี่ปุ่นใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

กัณศพัฒน์ ถิรกุลเพิ่มพงศ์. (2554). ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในการมาท่องเที่ยวที่ตลาดน้ำอโยธยา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณโุลก.

กุลธิดา มณีวรรณ. (2553). ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในการใช้บริการรถรางท่องเที่ยวชมเมืองพิษณุโลก. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ณัฐพร พันธ์เพ็ง. (2554). ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีีต่อส่วนประสมทางการตลาดอาคารราชการเก่าที่ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษาอาคาร นิทรรศน์รัตนโกสินทร์. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณโุลก.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.

บุรินทร์ ศิริเนตร์. (2554). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดและความคิดเห็นคุณภาพ การให้บริการที่มีีผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงแรมที่พักในเขตอำเภอปราณบุรี. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ประดับ เรียนประยูร. (2541). การศึกษาแนวทางพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ตลาดน้ำตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัชรดา มงคลนวคุณ. (2555). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อตลาดน้ำตลิ่งชัน. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

พัชรา ลาภลือชัย. (2546). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการท่องเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรีและตลาดน้ำท่าคา จังหวัดสมุทรสงคราม. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

มาลิน เมธิยานนท์. (2554). ปัจจัยทางการตลาดที่มีีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมธุรกิจของนักท่องเที่ยวชาวไทยเขตวัฒนา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณทางมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (เน้นการบริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว และการโรงแรม). (พิมพ์ครั้งที่ 2). คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2561). รูปแบบการท่องเที่ยว. [ออนไลน]. ได้จาก: https://tourismatbuu.wordpress.com [สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 สิงหาคม 2561].

วิธาน จีนาภักดิ์. (2555). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่ออุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

ศิริกาญจน์ กิตติชยานนท์. (2550). การสร้างมาตรฐานตลาดน้ำเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาตลาดน้ำตลิ่งชัน. ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

ศุภาวิณี โลหะประเสริฐ. (2554). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อมิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สุวิมล ติวกานันท์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ :แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉราพรรณ นาครักษ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมบูติคของนักท่องเที่ยวชาวไทย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ธัญวัฒน์ พัชรวงศ์ตระกูล. (2015). ปัจจัยทางการตลาดท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยว ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 8(3),103-112.

BIBLIOGRAPHY

Gulapish Pookaiyaudom. (2013). The integrated learning of community-based tourism in Thailand. Procedia - Social and Behavioral Sciences, (106), 2890-2898.

Jeenapak V. (2012). Domestic Tourists Satisfaction Toward the Erawan National Park in Kanchanaburi. Master thesis, Master of Science, Srinakharinwirot University, Bangkok.

KijpredaBorisut, B. (2008). Social sciences research methodology. (10th ed.). Bangkok : Chamchuree Product.

Kittichayanon, S. (2007). Setting up Standard of Floating Market for Ecotourism: A Case study of Taling Chan Floating Market. Master thesis, Master of Science, Srinakharinwirot University, Bangkok.

La–iard Silanoi, Tudsaniya Bourpath. (2018). Tourists’ NeedsBased on the Marketing Mixed Factors at the Services of Three Star-Hotels in Nakhon Si Thammarat Province, Thailand. Journal of Thai Hospitality & Tourism, 13(2), 51-65.

Lapluechai, P. (2003). Satisfaction of Thai Tourists towards Tourism management at Damnoen Saduak Floating Market Ratchaburi Province and Tha Kha Floating Market Samut Songkhram Province. Independent Study Master of Business Administration, Srinakharinwirot University, Bangkok.

Lohapraseart, S. (2011). The Study of tourists' behavior and Satisfaction towards the Museum Siam (Learning Museum). Independent Study, Master of Arts, Naresuan University, Phitsanulok.

Madhyamapurush, W. (2018). Tourism Patterns. [online]. Available from: https://tourismatbuu.wordpress.com [accessed 25 August 2018].

Manapraseartsak, K. (2011). Satisfaction and Service Marketing mix in Golf Courses of Thai and Japanese Golf Course users in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Independent Study Master of Arts, Naresuan University, Phitsanulok.

Maneewan, K. (2010). The Study of Marketing Mix Factors that Tourists Give Precedence to Travel in Phitsanulok By usage Tourist tram services. Independent Study, Master of Arts, Naresuan University, Phitsanulok.

Metiyanon, M. (2011). Marketing Factors Affecting the decision behavior of usage business hotel services of Thai tourists in Wattana District. Independent Study, Master of Arts, Naresuan University, Phitsanulok.

Mongkonnavakun, P. (2012). The Satisfaction of Thai Tourist toward Taling Chan Floating Market. Independent Study, Master of Business Administration, Siam University.

Nakruk, A. (2011). Factors affecting the decision toward Boutique hotel service of Thai tourists. Independent Study Master of Arts, Naresuan University, Phitsanulok.

Phatcharawongrakul, T. (2015). The Tourism Marketing Factors Relating to the Tourist Destination Selection In Nakorn Ratchasima Province. Journal of Social Academic, 8(3),103-112.

Punpeng, N. (2011). The level of satisfaction of tourists towards the marketing mix of old government buildings that have been renovated into museums Building : A case study Rattanakosin Exhibition Hall. Independent Study, Master of Arts, Naresuan University, Phitsanulok.

Reni Diah Kusumawatia, (2014). Teddy Oswarib, Rooswhan Budi Utomoc, Vikas Kumard. The influence of 7P’s of marketing mix on buying intention of music product in Indonesia. Procedia Engineering, (97), 1765-1771.

Retno Astutia, Rizky Lutfian Ramadhan Silalahia, Galuh Dian Paramita Wijayaa. (2015). Marketing strategy based on marketing mix influence on purchasing decisions of malang apples consumers at Giant Olympic Garden mall (MOG), Malang city, east java province, Indonesia. Agriculture and Agricultural Science Procedia, (3), 67-71.

Rianprayoon, P. (1998). A Study on Environmental Development Guidelines for Tourism and Local Economy Extension for Taling Chan Floating Market in Bangkok. Thesis Master of Science, Mahidol University.

Silanoi, L. (2017). Quatitative Research Methodologies for Humanities and Social Sciencesb (Focus on business management, tourism and hotel). (2nd ed.). Faculty of Tourism and Hotel Management Mahasarakham University, Mahasarakham.

Sirinet, B. (2011). Influence of marketing mix and quality opinions Providing services that affect the decision to select hotel in Pranburi district. Independent Study, Master of Arts, Naresuan University, Phitsanulok.

Tirakanant, S. (2008). Research Methodology in Sciences : Guidelines for practice Bangkok : Chulalongkorn University.

Tirakulpermpong, K. (2011). The Study of Marketing Mix Factors that Tourists Give Precedence to Travel in Ayothaya Floating Market. Independent Study, Master of Arts, Naresuan University, Phitsanulok.
Tourism Authority of Thailand. (2018). Taling Chan Floating Market. [online]. Available from: https://thai.tourismthailand.org [accessed 25 August 2018].