การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

channarong chan wisetsat

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู และ 2) เเพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ และปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครูให้มีคุณภาพ โดยใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ของจอย เวล และคาลฮาม ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู ระยะที่ 2 ออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู ระยะที่ 4 ปรับปรุง แก้ไข รูปแบบการเรียนการสอนส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครูให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 102 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และ แบบบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบพาราเมตริก คือ การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครูที่พัฒนาขึ้น มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและแนวคิดพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการเรียนการสอน  4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ6) ระบบสนับสนุน ทั้งนี้ได้สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้เป็น 4 ขั้น คือ ขั้นกำหนดเป้าหมาย ขั้นประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ขั้นสร้างนวัตกรรม และขั้นจัดการเรียนรู้ ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครูพบว่า นักศึกษาวิชาชีพครูมีพัฒนาการของทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครูพบว่ามีรายการที่ปรับปรุง 3 รายการ ได้แก่ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ระบบสังคม และระบบสนับสนุน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

channarong chan wisetsat, Roi-et rajabhat university

https://www.reru.ac.th

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. เปิดประตูสู่อาเซียนด้วยการคิดเชิงนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์. จุลสาร ป.ป.ช. “สุจริต”, 15(55), 43-45, 2558.
คณะกรรมการกองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา.
คณะกรรมการคุรุสภา. (2556). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา.
ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ และ ประสาทเนืองเฉลิม. (2561). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 18(4). 129-141.
ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ และคณะ. (2562). ผลการศึกษาความต้องการของการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 19(4).
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ. (2560). ยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบาย ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพ ฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2552). การสอนทักษะการคิด. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565). สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Anderson, L.W. A. (2001). Taxonomy for Learning Teaching, and Assessing : A Revision of Bloom's Taxonomy of Education Objectivcs. New York : Addison Wesley Longman.
Australian National Training Authority (ANTA). (2001). Innovation: Ideas That Work for Trainers of Innovation at Work Skills. Brisbane: Australian National Training Authority.
Barkley, E. F., Cross, K. P., & Major, C. H. (2014). Collaborative Learning Techniques: a handbook for college faculty. New York: John Wiley & Sons.
Bellanca, J. A. (2010). 21st century skills: Rethinking how students learn. United States: Solution Tree Press.
Boud, D., & Feletti, G. (2013). The challenge of problem-based learning. Routledge.
Carroll, J. M. (Ed.). (2014). Innovative practices in teaching information sciences and technology: Experience reports and reflections. Springer Science & Business Media.
Jain, L. C. (2013). Innovative teaching and learning: knowledge-based paradigms. Physica.
Jewitt, C. (2012). Technology, literacy, learning: A multimodal approach. Routledge.
Joyce, B., M. Weil and E. Calhoun. (2014). Models of Teaching (9th ed.). Boston: Pearson Education.
Knirk, F.G., B., and K. L. Gustafson. (1986). Instructional Technology : A Systematic Approach to Education. Florida : Holt, Rinehart and Winston.
Varnhagen and Orthers. Teaching, Research, and Discovery Learning: Recommendations for a Great University. Great University, 2010.
Zhu, C., Wang, D., Cai, Y., & Engels, N. (2013). What core competencies are related to teachers' innovative teaching?. Asia-Pacific Journal of Teacher Education, 41(1), 9-27