พฤติกรรมและความพึงพอใจที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวถนนผ้าคราม จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ชมพูนุท สมแสน

บทคัดย่อ

การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวถนนผ้าคราม จังหวัดสกลนคร มีความมุ่งหมายของการวิจัย 2 ข้อ ดังนี้ 1.) เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมถนนผ้าคราม จังหวัดสกลนคร 2.) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวถนนผ้าคราม จ.สกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมถนนผ้าคราม จังหวัดสกลนคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม จากนักท่องเที่ยวที่เข้าชมถนนผ้าคราม จังหวัดสกลนคร  จำนวน 385 คน 


ผลสรุป ได้ว่า 1.) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวชมถนนผ้าคราม จ.สกลนคร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง   31 – 35 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 229 คนอาชีพส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 25,001 บาทขึ้นไป 2.) ผลการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวถนนผ้าคราม   จ.สกลนคร พบว่า วัตถุประสงค์เพื่อการเดินทางมาท่องเที่ยวถนนผ้าคราม จ.สกลนครส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางมาท่องเที่ยว เพื่อซื้อสินค้าผ้าครามโดยเฉพาะ รองลงมาเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ลักษณะในการเดินทาง ส่วนใหญ่เดินทางมากับครอบครัว/ญาติพี่น้อง พาหนะที่ใช้เดินทาง ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวโดยรถส่วนตัว ค่าใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยวถนนผ้าคราม ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยวระหว่าง 1,501- 2,000 บาท จำนวนครั้งในการเดินทางมาท่องเที่ยวถนนผ้าคราม จ. สกลนคร ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวมากกว่า 3 ครั้ง สื่อที่ทำให้รู้จักถนนผ้าคราม ส่วนใหญ่รู้จักถนนผ้าคราม จากการบอกเล่าจากปากต่อปาก 3.) นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมถนนผ้าคราม จ.สกลนคร ให้ความพึงพอใจของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเที่ยวชมถนนผ้าคราม จ.สกลนคร อยู่ในระดับมาก โดยนักท่องเที่ยว ให้ความพึงพอใจด้านบุคลากร เรื่อง พ่อค้า แม่ค้าพูดจาสุภาพ อ่อนโยน ยิ้มแย้ม อยู่ในอันดับแรก  รองลงมา ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ เรื่องสินค้ามีความเป็นเอกลักษณ์สื่อถึงถนนผ้าคราม ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เรื่องเส้นทางเดินชมตลาดมีความสะดวก ด้านราคา เรื่องความคุ้มค่าของการใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยวถนนผ้าคราม ด้านกระบวนการ เรื่องจำหน่ายสินค้าและอาหารด้วยความสะดวกรวดเร็วและถูกต้อง ด้านส่งเสริมการตลาด เรื่องการโฆษณาโดยใช้สื่อออนไลน์ และด้านที่ให้ความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านลักษณะทางกายภาพ การจัดแบ่งโซนเพื่อสะดวกในการเลือกซื้อสินค้า ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2540). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาบริการ ใน เอกสารการสอนชุดวิชา
จิตวิทยาบริการ (เล่มที่ 1) หน่วย 1-7. นนทบุรี: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เจริญศรี จวนสาง. (2552). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการมาไหว้พระ
9 วัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง บธ.ม., มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา.
ฉัตยาพร เสมอใจ และมัทนียา สมมิ. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:
เอ็กซเปอร์เน็ท.
ญาณิศา ตันศิรินาถกุล. (2551). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในสวนสัตว์
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศ.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ดิจิทัลไกด์บุ๊ค คู่ใจนักช้อป รวบรวมข้อมูลร้านค้า(2561). “ถนนคนเดินคราม” [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : https://80root.com/pages/80rootnew2
สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 5 ธัวาคม 2561
ธงชัย สันติวงษ์. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ:
ประชุมช่าง.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 10).
กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
ปวริศา สิทธิสาร. (2551). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้มาเที่ยวชมนคร
ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง บธ.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา.
ปราโมทย์ เลิศจิตรการุณ. (2550). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยว
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี. ปริญญานิพนธ์ วท.ม.
(การจัดการนันทนาการ).บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.กรุงเทพฯ.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2542). สถิติเศรษฐศาสตร์และธุรกิจหน่วยที่ 1-8. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิกิพีเดีย. (2561). “จังหวัดสกลนคร.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/
จังหวัดสกลนคร. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2534). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา. ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541).
การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและ ไซเท๊กซ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร(2561). “ผ้าย้อมคราม” [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : https://pr.prd.go.th/sakonnakhon/main.php?filename=otop1
สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพค์รั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัจฉรา สมบัตินันทนา.(2555). พฤติกรรมการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามา
ท่องเที่ยวในประเทศไทย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
Engle, Jame F., Roger D. Blckwell and Paul W. Miniard. (1990). Consumer Behavior.
(6th ed.). Hinsdale, IL: Dryden.
Hawkins, Rojer J. Best, Kenneth A.Coney. (1998). Consumer Behavior : Buiding
Marketing strategy Dell. Boston: McGraw-hill.
Kotler, Philip.; Armstrong, Gary. (1993). Marketing an Introduction. 3rd ed. Prentice
– Hall. Internetional Edition.
Peter, J.Paul and Jerry C.Olsen. (1990). Consumer Behavior and marketing strategy.
(2nd ed.). Homewood, Illinois: Richard D. Irwin.