การศึกษาระดับพัฒนาการของงผลการเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) โดยใช้รูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการบรรยาย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

ฬิฏา สมบูรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับพัฒนาการของผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยใช้รูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการบรรยาย 2)ศึกษาระดับพัฒนาการของผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยใช้รูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการปฏิบัติ 3)ศึกษาขนาดของผลที่เกิดจากรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการบรรยาย ในการยกระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)  4) การศึกษาขนาดของผลที่เกิดจากรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการปฏิบัติ ในการยกระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)  5) การศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนทั้งในกลุ่มวิชาที่เน้นการบรรยาย และกลุ่มวิชาที่เน้นการปฏิบัติ โดยการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ รูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการบรรยาย และรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการปฏิบัติ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีที่ลงทะเบียนเรียนกับอาจารย์ที่เป็นอาสาสมัครในการทำวิจัย ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม SUI Model 2แผนการจัดการเรียนรู้ตาม IK Model  3) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม 5K Model  4) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม 5B Model  5) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม PPP+P Model 6) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม KDA Model  7) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม PC Model  8) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม SIC Model 9) แบบบันทึกและรวบรวมผลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และคำนวณค่าสถิติพื้นฐานสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ


             ผลการวิจัยพบว่า 1.  ผลการศึกษาพัฒนาการของผลการเรียนรู้ตามกรอบ TQF โดยใช้รูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการบรรยาย พบว่า 1) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ IK Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และ SUI Model ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการอยู่ในระดับดี ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 2) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความรู้อยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ IK Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยทุก Model ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความในระดับดีขึ้นไป ส่วนคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดีไปจนถึงระดับดี 3) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะทางปัญญาอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ IK Model และ 5B Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยทุก Model ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะทางปัญญาอยู่ในระดับสูงขึ้นไป ส่วนคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีไปจนถึงระดับดีมาก 4) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ SUI Model และ 5B Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดี และ 5) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ 5K Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และ SUI Model ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการอยู่ในระดับสูง ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี    2.  ผลการศึกษาพัฒนาการของผลการเรียนรู้ตามกรอบ TQF โดยใช้รูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการปฏิบัติ พบว่า 1) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ SIC Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 2) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความรู้อยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ SIC Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก และ KDA Model ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการอยู่ในระดับดี แต่คะแนนโดยรวมยังอยู่ในระดับแค่พอใช้ 3) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะทางปัญญาอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ SIC Model และ PC Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมากและระดับดี ตามลำดับ  โดยทุก Model ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะทางปัญญาอยู่ในระดับสูงขึ้นไป ซึ่งคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีไปจนถึงระดับดีมาก 4) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ SIC Model และ KDA Model ซึ่งผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมากและระดับดี ตามลำดับ และ5) ทุกรูปแบบการสอนทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับสูงมาก โดยเฉพาะ SIC Model และ PC Model ที่ทำให้ผู้เรียนมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก   3.  ผลการศึกษาขนาดของผลที่เกิดจากรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการบรรยาย สำหรับการยกระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปตามกรอบ TQF พบว่า 1) รูปแบบการสอนที่สามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมได้เป็นอย่างดี คือ IK Model โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก 2) ทุกรูปแบบการสอนสามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านความรู้ได้เป็นอย่างดี โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก 3) ทุกรูปแบบการสอนสามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาได้เป็นอย่างดี โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก 4) ทุกรูปแบบการสอนสามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบได้เป็นอย่างดี โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก และ 5) รูปแบบการสอนที่สามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี คือ SUI Model โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก และ 5K Model โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับมาก   4.  การศึกษาขนาดของผลที่เกิดจากรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาที่เน้นการปฏิบัติ สำหรับการยกระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปตามกรอบ TQF พบว่า 1) รูปแบบการสอนที่สามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมได้เป็นอย่างดี คือ SIC Model โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก 2) รูปแบบการสอนส่วนใหญ่สามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านความรู้ได้เป็นอย่างดี โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก ยกเว้น PPP+P อยู่ในระดับปานกลาง 3) ทุกรูปแบบการสอนสามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาได้เป็นอย่างดี โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก 4) รูปแบบการสอนที่สามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบได้เป็นอย่างดี คือ KDA Model และ SIC Model โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก และ 5) ทุกรูปแบบการสอนสามารถยกระดับผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี โดยมีขนาดของผลอยู่ในระดับใหญ่มาก  5.  ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนในกลุ่มวิชาบรรยาย พบว่า ในภาพรวมของทุกโมเดลผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยรูปแบบการสอนที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ 5K Model รองลงมา คือ 5B Model และ SUI Model โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจเท่ากับ 4.40, 4.34 และ 4.11 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มวิชาปฏิบัติ พบว่า ในภาพรวมของทุกโมเดลผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยรูปแบบการสอนที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ KDA Model รองลงมา คือ SIC Model และ PC Model โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจเท่ากับ 4.93, 4.00 และ 3.98 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เดชดนัย จุ้ยชุม. (2559). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการคิดของนักศึกษาในรายวิชาทักษะการคิด (Thinking Skills) รหัสวิชา 11-024-112 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning),” วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 3,2 (2016): 24-27.
นภาพรรณ เอี่ยมสำอางค์. (2551). ผลการจัดการเรียนการสอนตามโมเดลการสอน BSCS 5 E. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์อุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Fosnot, C.T.(Ed). (1992). Constructivism: Theory Perspectives and Practice. New York: Teacher College Press.
Gredler. M.E. (2009). Learning and nstruction: Theory into practice. (3rd ed.). Newjersey: Prentice-Hall.
Johnson, D.W. and R.T.Johnson. (1990). Learning Together and Alone. New Jersey: Prentice-Hall.
Jonassen, D.H. (1992). Evaluating constructivist learning. In T.M.Duffy Constructivism and the technology of instruction. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associaties Publishers.
Vygotsky. L.S.(1978). Mind in Society: The Development of Higher psychological Processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.