การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ด้วยเทคนิค KWL – Plus กรณีศึกษาของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Main Article Content

นันทิพา สันทัดการ

บทคัดย่อ

 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ       เพื่อความเข้าใจก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL – Plus 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยเทคนิค                                            KWL - Plus


            กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 100 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา การอ่านภาษาอังกฤษ 3 ในปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนที่ 2 (2/2559) โดยวิธีคัดเลือกสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอนด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL – Plus จำนวน 10 แผน แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL – Plus การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย  (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.) และการทดสอบค่า t-test  ผลการวิจัย พบว่า


  1. นักศึกษามีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิค การเรียนรู้แบบ KWL-Plus สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL-Plus อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            2. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL-Plus โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.96)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ คันธากร และศศิวิมล ชิน. (2556). การใช้เทคนิค KWL Plus เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านในการ
เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ 2 สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

ณัฐภัทร ปันปิน. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการสอนอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับ
วิธีการอ่านแบบจับคู่ที่มีต่อทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิลุบล ภาณุรักษ์. (2557). รายงานการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ KWL-Plus. สืบค้นเมื่อ 3
มกราคม 2560, จาก https://www.kksec.go.th/webinfo25/abstract/nirabol01.pdf

สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2549). เทคนิคการอ่านเพื่อความเข้าใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่ม
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Anderson, R.C. (1985). Role of the reader’s schema in comprehension, learning, and
memory. In H. Singer & R.B.Ruddell (Eds), Theoretical models and processes of
reading (3rd ed.) Newark, DE: IRA.

Carr, E.; & Donna Ogle. (1987). K-W-L PLUS : A Strategies for Comprehension and
Summarization. Journal of Reading, 30. (pp. 626–631).

Harris, L.A. & Smith, C.B. (1976). Reading Instruction. New York: Holt, Rinehart and
Winton.

Pearson, D. & Johnson, D. (1978). Teaching Reading Comprehension. New York: Holt,
Rinehart & Winston.

Smith, F. (1988). Understanding Reading: A Psycholinguistic Analysis of Reading and
Learning to Read. (6th ed). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.,
Publisher.

References
Kanokwan Kantakorn & Sasiwimon Shinn. (2013). Utilizing KWL Plus to Improve the Reading
Skills of the Students of Rajamangala University of Technology Lanna. Chaing Mai: Rajamangala University of Technology Lanna.

Nattapat Punpin. (2016). Effects of Organising Reading Comprehension Activity Using KWL
Plus Technique with Partner Reading Method on Reading Comprehension Skills of
Grade 3 Students. Master’s Thesis Department of Curriculum and Instruction Faculty
of Education Chulalongkorn University.

Nilubol Phanurak. (2014). Report on the Development of English Reading Comprehension
Skills for Mathayomsuksa II Students using KWL-Plus Approach. Retrieved 3 January 2017, from https://www.kksec.go.th/webinfo25/abstract/nirabol01.pdf

Office of the Basic Education Commission. (2008). Indicators and Core Learning Objective
of Learning Foreign Languages in the Core Curriculum of Basic Education Act in
B.E. 2551. Bangkok: The Agricultural Federative Co-operation of Thailand Press.

Samut Senchaowanich. (2008). Techniques for English Reading Skill and Comprehension
development for Thai Students. (12th ed). Bangkok: Thammasat University Press.