วิวัฒนาการละครใน

Main Article Content

ขวัญใจ คงถาวร

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องวิวัฒนาการละครใน เป็นการศึกษาเรื่องราวประวัติความเป็นมาของการแสดงละครใน ตั้งแต่ยุคอดีตที่ถือกำเนิดขึ้นจากราชสำนัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการละครในจากอดีตถึงปัจจุบัน งานวิจัยฉบับนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานและรายงานผลในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์


              ผลการวิจัยพบว่า ละครในเกิดจากการฝึกหัดนางในให้เป็นผู้แสดงในการพระราชพิธีภายในพระราชวัง เสมอเป็นเครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ เรียกว่าละครผู้หญิงของหลวงหรือละครใน ราชสำนัก วิวัฒนาการของละครในมีความเกี่ยวข้องกับนาฏยศิลป์หลายประเภท ทั้งการนำท่ารำ ลักษณะวิธีการแสดงที่เป็นเรื่องราวมาจากการละเล่นของหลวงอย่างระเบ็ง โมงครุ่ม  นำกระบวนเล่นและคำเรียก“ละคร”มาจากละครนอก นำวีธีการร้อง วิธีการรำนำมาจากระบำ นำเรื่องที่ใช้แสดงและแนวทางในการแสดง เช่นการรำลงสรงทรงเครื่องหรือการแต่งตัวของตัวละครเอก การรำอาวุธและการรำตรวจพล  การรำประกอบเพลงหน้าพาทย์  การปะทะทัพและการรบมาจากการแสดงโขน ละครในมีการเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายของผู้นำหรือตามความเห็นชอบของพระมหากษัตริย์ในแต่ละยุคอันเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2560). เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อ
ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา.

จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2511). ประชุมประกาศรัชกาลที่4 พ.ศ. 2394-2400.
พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2516). พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่ง
วัฒนา.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2546). ละครฟ้อนรำ. กรุงเทพฯ: มติชน.

ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (2545). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1.
กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระ(ผู้แปล). (2505). จดหมายเหตุลาลูแบร์. พระนคร:
องค์การค้าของคุรุสภา.

มหานาค วัดท่าทราย, พระ. (2503). บุณโณวาทคำฉันท์. พระนคร: กรมศิลปากร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์
พับลิเคชั่นส์.

สะวรรณยา วัยวัฒน์. (2539). ละครผู้หญิงของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศา
สตรมหาบัณฑิต,ภาควิชานาฏยศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาวดี โพธิเวชกุล. (2559). พัฒนาการแม่บทในนาฏยศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2549). นาฏยศิลป์รัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

References

Basic education board, Office. (2017). Ascension to heaven. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.
Chomklao Chao Yu Hua, His Majesty King Chomklao Chao Yu Hua. (1960). Conference announcement of King Rama IV Buddhist Era 2394-2400. Phra Nakhon: Kurusapa Business Organization.

Chulachomklao Chao Yu Hua, His Majesty King Chulachomklao Chao Yu Hua. (1973). Royal ceremony twelve months . Bangkok: Rungwattana Printing House.

Damrong Rajanubhab, Somdet Phra Chao Borromwongter Gromprayaa. (2003). Rakhon forn Ru m. Bangkok: Matichon Publishing.
Mahanak Wat Thasai, Phra. (1960). Boonnoward Kamchun. Phra Nakhon: Fine Arts Department.

Narathippraphanpong, Phra Chao Borromwongter Grompra. (1962). Archives of the Lulubair. Phra Nakhon: Kurusapa Business Organization.

Royal Academy. (2003). Dictionary issue Royal Academy. Bangkok: Nanmee Books
Publications.

Sawanya Waiyawat. (1996). Nakhon Si Thammart Female Court Dance. Thesis for the Degree of Master of Arts Program in Department of Dance, Chulalongkorn University.

Suphavadee Phothivetchakul. (2016). Development of the master dance In Thai dance.
Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

Surapon Wirunrak. (2004). The evolution of Thai dance in Rattanakosin. Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.

. (2006). Dancesin the King Rama IX era. Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.

Thiphakornwong (Kham Boonnak), Chao Phraya. (2002). Royal Annals of Rattanakosin King Rama I. Bangkok: Fine Arts Department