สรรเสริญพระบารมี บทเพลงสำคัญดุริยางค์เหล่าทัพและตำรวจ : ลักษณะทางดนตรีจากวงโยธวาทิต ลักษณะทางดนตรีจากวงโยธวาทิต

Main Article Content

อัศวิน นาดี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อได้แก่ 1. ศึกษาประวัติความเป็นมาบทเพลงสรรเสริญพระบารมี  2. ศึกษาลักษณะเฉพาะทางดนตรีวงโยธวาทิต เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ 1. แบบสัมภาษณ์ 2. ทฤษฎีการวิเคราะห์ดนตรี ผลการวิจัยพบว่า


  1. บทเพลงสรรเสริญพระบารมี ฉบับปัจจุบันใช้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2414 เพื่อการถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าแผ่นดิน (Saluting) ประพันธ์โดยครูยูเซ่น จนถึงปี พ.ศ. 2431 มีการปรับปรุงโดย ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) เนื้อร้องที่ใช้ในปัจจุบันแก้ไขโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้นิพนธ์เนื้อร้องโดยมีการบรรเลงเป็นครั้งแรก ณ ศาลายุทธนาธิการในปี พ.ศ. 2431 ปรากฏการณ์ที่ส่งผลก่อให้เกิด พัฒนาการบทเพลงสำหรับถวายพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ คือ การได้รับประสบการณ์ใหม่ จากการเสด็จประพาสยังต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความต้องการเลียนแบบวัฒนธรรมต่างชาติที่ส่งเสริมคุณค่าของบทเพลงตามบทบาทหน้าที่ การถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าแผ่นดินนั้นในยุคสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ปฏิบัติตามแบบของทหารตะวันตกที่มีดนตรีประกอบและนำมาสู่เพลงสรรเสริญพระบารมีในรัชกาล                                                ที่ 5   

  2. ลักษณะเฉพาะทางดนตรีวงโยธวาทิต พบ การเกลาเสียงทำนองที่มีการกระโดดคู่กว้างบ่อยครั้งด้วยการสร้างทำนองประกอบที่มุ่งเน้นการวางกรอบกฎเกณฑ์ทางดนตรีคลาสสิก ส่งผลให้มีความราบรื่นทางทำนอง การประสานเสียงใช้ระบบทบสามเป็นหลักซึ่งส่งผลให้เกิดการพลิกกลับในแนวต่าง ๆ เพื่อสร้างสมดุลของเสียงประสานที่มีความไพเราะราบรื่นทางการดำเนินคอร์ด สำหรับการจัดวางเครื่องดนตรีที่มุ่งเน้นการสร้างทำนองให้โดดเด่นด้วยการทบคู่ 8 ในกลุ่มเครื่องดนตรีแต่ละกลุ่ม มุ่งเน้นทำนองในกลุ่มเครื่องลมไม้ รวมถึงการสร้างทำนองประกอบและทำนองสอดประสานในแนวเบสช่วยให้บทเพลงมีความเป็นเอกภาพทางทำนองประกอบ และเป็นเอกลักษณ์สำคัญอันโดดเด่นของเพลง ส่งผลให้บทเพลงมีการเคลื่อนที่ทางทำนองอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับหลักการประสานเสียงแบบโน้ตต่อโน้ตตามแบบทฤษฎีการประพันธ์เพลงดนตรีตะวันตก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2542). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

พันตำรวจโท ทีฆา โพธิเวส, (2560, 3 สิงหาคม). อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. สัมภาณ์.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2559). แตรสยาม. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรมและ มูลนิธิ
จุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ และวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วรกุล งามสาระคู. (2554). เพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติไทย. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2560,
จาก https://www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/main.html

วิศิษฎ์ ภวปัญญากุล, (2558, 25 พฤศจิกายน). นายวงโยธวาทิต กองดุริยางค์ทหาร. สัมภาณ์.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2552). การศึกษาสังคมและวัฒนธรรม แนวความคิด วิธีวิทยา และทฤษฎี.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อนรรฆ จรัญยานนท์. (2537). เค้าน์เต้อร์พ้อยท์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.